จงตอบคำถามที่ถูกต้อง
คำถามเกี่ยวกับจังหวะที่ใช้กำกับบทเพลงไทยเดิม
พยายามทำความเข้าใจกับเนื้อหาแบบทดสอบ
จังหวะอย่างสม่ำเสมอ ที่จะต้องยึดถือเป็นหลักในการขับร้องและบรรเลง แม้ว่าจะ ไม่มีสิ่งใดเป็นเครื่องให้สัญญาณจังหวะ ก็จะต้องมีจังหวะอยู่ในความรู้สึกตลอดเวลา หมายถึงข้อใด
- จังหวะช้า
- จังหวะฉิ่ง
- จังหวะหน้าทับ
- จังหวะสามัญ(จังหวะเคาะ)
ใช้พื้นฐานเดียวกับจังหวะสามัญ เป็นการแบ่งจังหวะด้วยเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง โดยปกติจะตีสลับกัน สองเสียง เพื่อให้ทราบว่ากำลังบรรเลงในอัตรา จังหวะ สามชั้น สองชั้น หรือชั้นเดียว
- จังหวะเร็ว
- จังหวะฉิ่ง
- จังหวะสามัญ(จังหวะเคาะ
- จังหวะหน้าทับ
จังหวะฉิ่งข้อใดกำกับจังหวะเร็ว
- สามชั้น
- สี่ชั้น
- หนึ่งชั้น
- ชั้นเดียว
จังหวะฉิ่งข้อใดกำกับจังหวะช้า
- สามชั้น
- สองชั้น
- หนึ่งชั้น
- ชั้นเดียว
จังหวะฉิ่งข้อใดกำกับจังหวะปานกลาง
- ชั้นสาม
- หนึ่งชั้น
- ชั้นสอง
- สองชั้น
การตีกลองควบคุมจังหวะหมายถึงข้อใด
- จังหวะหน้าทับ
- จังหวะฉิ่ง
- จังหวะเร็ว
- จังหวะสามัญ(จังหวะเคาะ)
๑ ๒ ๓ ๔ / ๑ ๒ ๓ ฉิ่ง/ ๑ ๒ ๓ ๔ / ๑ ๒ ๓ ฉับ/ หมายถึงจังหวะฉิ่งกี่ชั้น
- หนึ่งชั้น
- ชั้นเดียว
- สองชั้น
- สามชั้น
๑ ฉิ่ง ๓ ฉับ / หมายถึงจังหวะฉิ่งกี่ชั้น
- ครึ่งชั้น
- หนึ่งชั้น
- ชั้นเดียว
- สองชั้น
๑ ๒ ๓ ฉิ่ง / ๑ ๒ ๓ ฉับ / หมายถึงจังหวะฉิ่งกี่ชั้น
- สี่ชั้น
- สามชั้น
- สองชั้น
- หนึ่งชั้น
ติง-โจ๊ะ / -ติง-ติง / - - ติงทั่ง / -ติง-ทั่ง /จังหวะหน้าทับสองไม้ลาว ใช้ฉิ่งกำกับจังหวะสองชั้นกี่ชุด
- ๔ ชุด
- ๓ ชุด
- ๒ ชุด
- ๑ ชุด