พระยาเสนาะดุริยางค์

          พระยาเสนาะดุริยางค์ เป็นบุตรคนโตของครูช้อย และนางไผ่ สุนทรวาทิน ได้ฝึกฝนวิชาดนตรี จากครูช้อย ผู้เป็นบิดา จนมีความแตกฉาน ต่อมาเจ้าพระยาเทเวศน์วงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว. หลาน กุญชร) ได้ขอตัวมาเป็นนักดนตรีในวงปี่พาทย์ของท่าน ท่านเข้ารับราชการ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๒ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น ขุนเสนาะดุริยางค์ ในปี พ.ศ. ๒๔๔๖ ตำแหน่งเจ้ากรมพิณพาทย์หลวงจึงโปรดให้เลื่อนเป็น หลวงเสนาะดุริยางค์ในปีพ.ศ.๒๔๕๓ในตำแหน่งเดิมจนถึงสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว โปรดให้เลื่อนเป็น พระเสนาะดุริยางค์ รับราชการในกรมมหรสพหลวง และได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ด้วยความซื่อสัตย์ และมีความจงรักภักดี ท่านจึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาเสนาะดุริยางค์ ในปี พ.ศ. ๒๔๖๘
          ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านได้รับมอบหมายให้ควบคุมวงพิณพาทย์ของเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (ม.ร.ว. ปุ้ม มาลากุล) เสนาบดีกระทรวงวัง วงพิณพาทย์วงนี้ นับได้ว่าเป็นการรวบรวมผู้มีฝีมือ ซึ่งต่อมาได้เป็นครูผู้ใหญ่ เป็นที่รู้จักนับถือโดยทั่วไป เช่น ครูเทียบ คงลายทอง, ครูพริ้ง ดนตรีรส, ครูสอน วงฆ้อง, ครูมิ ทรัพย์เย็น, ครูแสวง โสภา ครูผิว ใบไม้, ครูทรัพย ์นุตสถิตย ,์ครูอรุณ กอนกุล, ครูเชื้อ นักร้อง, และครูทองสุข คำศิริ, พระยาเสนาะดุริยางค ์ ถึงแก้อนิจกรรมในปี พ.ศ.๒๔๙๒ เมื่อมีอายุได้ ๘๓ ปี