ปัจจุบันการผสมวงมโหรี มีเครื่องดนตรีในข้อใดที่แสดงให้เห็นว่าวงดนตรีดังกล่าวเป็นวงมโหรี
- จะเข้
- ซอสามสาย
- กระจับปี่
- ขลุ่ยเพียงออ
ถ้าสมโชคได้รับการไหว้วานให้ไปนำวงดนตรีมาบรรเลงในงานสวดพระอภิธรรม สมโชคควรนำวงดนตรีในข้อใดมาบรรเลง
- ปี่พาทย์มอญ หรือ ปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์
- ปี่พาทย์นางหงส์ หรือ ปี่พาทย์ชาตรี
- ปี่พาทย์มอญ หรือ ปี่พาทย์เสภาเครื่องใหญ่
- ปี่พาทย์นางหงส์ หรือ ปี่พาทย์มอญ
การขับร้องในข้อใดที่ใช้เทคนิคในการขับร้องใกล้เคียงกันมากที่สุด
- การขับร้องโอเปราและการขับร้องประสานเสียง
- การขับร้องเพลงพื้นบ้านและการขับร้องประสานเสียง
- การขับร้องเพลงไทย (เดิม) และการขับร้องเพลงพื้นบ้าน
- การขับร้องเพลงแจ๊สและการขับร้องโอเปรา
เอกลักษณ์สำคัญของการขับร้องเพลงไทย (เดิม) น่าจะเป็นข้อใด
- การใช้ส่วนต่าง ๆ ของปากและลำคอ
- การเอื้อน
- ปั้นเสียงให้กลมกล่อม
- การผ่อนและถอนลมหายใจ
เทคนิคการบรรเลงดนตรีในข้อใดที่มีลักษณะใกล้เคียงกันมากที่สุด
- กรับพวง และ Timpani
- ซอด้วง และ Flute
- จะเข้ และ Guitar
- ซอสามสาย และ Harp
บทเพลงในข้อใดที่สามารถแสดงถึงความสมบูรณ์แบบขององค์ประกอบดนตรี
ในเรื่องสีสันได้อย่างเด่นชัดที่สุด
- เพลงลาวสมเด็จ โดยวงเครื่องสายเครื่องคู่
- เพลงปฐม โดยวงปี่ชวากลองชนะ
- . String Quartet in E flat Major , Op. 71 No. 3 by Haydn
- Symphony No. 9 in D minor , Op. 125 by Beethoven
เครื่องดนตรีพื้นบ้านในข้อใดที่เป็นเครื่องดนตรีในภูมิภาคเดียวกันทั้งหมด
- ปี่ภูไท พิณ โปงลาง แคน และโหวด
- พิณ สะล้อ โหวด โปงลาง และซึง
- รำมะนา ฆ้องคู่ กลองโนรา และพิณ
- โทนชาตรี ปี่ ตะโพน และฆ้องวง
ก่อนการเล่นเครื่องสาย ผู้เล่นจะใช้วัสดุชนิดหนึ่งถูที่สาย วัสดุนั้นคืออะไร
และมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร
- ยางรัก เพื่อทำให้สายไม่ขาดง่าย
- ยางสน เพื่อให้ฝืดและมีเสียงไพเราะขึ้น
- ยางรัก ให้ฝืดและมีเสียงไพเราะขึ้น
- ยางสน เพื่อทำให้สายไม่ขาดง่าย
เสียงเพลงในข้อใดที่ชาวบ้านร้องเล่นกัน โดยมีลูกคู่ร้องรับช่วงหนึ่งว่า
“เอ้า ฮ้า ไฮ้ เชี้ยบ เชี้ยบ เชี๊ยบ”
- เพลงโคราช
- เพลงซอ
- เพลงเรือ
- เพลงอีแซว
บทเพลงเดียวกัน แต่มีผู้นำไปขับร้องสองคน ความไพเราะของบทเพลงดังกล่าวแตกต่างกันด้วยเหตุผลสำคัญในข้อใด
- การใช้เทคนิคการขับร้องที่เหมาะสมกับยุคสมัยและประเภทของบทเพลงของผู้ขับร้องแต่ละคน
- การแสดงลีลาท่าทางประกอบการขับร้องที่แตกต่างกันของผู้ขับร้องแต่ละคน
- การขับร้องที่ถูกต้องทั้งจังหวะและทำนองของผู้ขับร้องแต่ละคน
- การเล่นลีลาและน้ำเสียงที่แตกต่างกันของผู้ขับร้องแต่ละคน
ถ้าต้องการประพันธ์เพลงให้มีลักษณะคล้ายเพลงลาวดวงเดือน ข้อใดเป็นคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
- ระดับเสียงที่ใช้ คือ โด เร มี ซอล ลา
- ผสมสำเนียงเพลงล้านนาเข้าไปด้วย
- ควรใช้หน้าทับพิเศษเพื่อให้บทเพลงมีความไพเราะมากขึ้น
- ควรใช้เสียงปี่มอญผสมวงในการบรรเลง
ฉากหนึ่งในละครโรงเรียนที่แสดงถึงบรรยากาศที่น่าเคารพ มีความขลังควรใช้เพลงในข้อใดบรรเลงประกอบ
- นกเขามาระปี สร้อยเพลง คุกพาทย์
- ปฐม กราวนอก มหาฤกษ์
- สาธุการ เวสสุกรรม มหาชัย
- ทยอย เชิด นางนาค
วิวัฒนาการสำคัญในการจัดวงดนตรีที่เกิดขึ้นในยุครัตนโกสินทร์แสดงถึงการติดต่อกับต่างชาติ คือวงดนตรีลักษณะใดและเกิดขึ้นในสมัยใด
- วงเครื่องสายประสมขิม สมัยรัชกาลที่ ๖
- วงปี่พาทย์นางหงส์ สมัยรัชกาลที่ ๕
- แตรวง สมัยรัชกาลที่ ๖
- วงเครื่องสายประสมไวโอลิน สมัยรัชกาลที่ ๖
ข้อใดแสดงคุณค่าของดนตรีไทยซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่ดุริยกวีได้สร้างสรรค์ไว้อย่างเด่นชัดที่สุด
- การนำเพลงไทย (เดิม) มาดัดแปลงเป็นเพลงไทยประยุกต์
- ความไพเราะของบทเพลงที่มีสำเนียงภาษาต่าง ๆ ซึ่งเรียกว่า เพลงภาษา
- ความไพเราะของบทเพลงไทยที่เรียบเรียงให้กับวงดนตรีสากลบรรเลง
- การบรรเลงบทเพลงไทยด้วยวงดนตรีไทยผสมกับวงดนตรีชาติอื่น
วัฒนธรรมดนตรีของไทยที่มีการสร้างสรรค์แตกต่างไปจากชาติตะวันตก ลักษณะที่เด่นชัดที่สุดคือข้อใด
- การมีทำนองหลักและการแปรทำนองได้อย่างหลากหลาย บนรากฐานของหลักการประพันธ์เพลงไทย
- การจัดวงดนตรีที่เน้นเครื่องสาย เรียกว่า วงเครื่องสาย ซึ่งมีลักษณะต่าง ๆหลากหลาย
- การจัดวงดนตรีที่มีเครื่องดนตรีประเภทดีด สี ตี เป่า ครบถ้วนทำให้ได้ความหลากหลายของสีสันเครื่องดนตรี
- การขับร้องเพลงที่ลีลาช้าและเร็วที่หลากหลาย สามารถถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึก ได้อย่างน่าสนใจ
น้ำใสไหลชวนดู หมู่มัสยา กี่เหล่าหลายว่ายมาก็เห็นโฉม บทร้องนี้เป็นตอนหนึ่งของเพลงอะไร
- เขมรไทรโยค
- ปินตลิ่งนอก
- คลื่นกระทบฝั่ง
- ล่องเรือ
เพลงข้อใดจัดเป็นเพลงขับร้องทั้งหมด
- เพลงเถา เพลงเรื่อง เพลงตับ
- เพลงตับ เพลงเกร็ด เพลงเรื่อง
- เพลงเกร็ด เพลงเรื่อง เพลงหน้าพาทย์
- เพลงเถา เพลงตับ เพลงเกร็ด
ข้อใดมีความสัมพันธ์กับการบรรเลงต่อไปนี้
- - ทั่งติง/ ทั่งติงโจ๊จ๊ะ/ - -โจ๊จ๊ะ/- -โจ๊จ๊ะ/-ติง-ติง/-ทั่งติงทั่ง/-ติง-ติง/-ทั่งติงทั่ง/
- 1 ติง -โจ๊จ๊ะ/ติงติง-ติง/- -โจ๊จ๊ะ/ติงติง-ทั่ง/ 2 ติง -โจ๊จ๊ะ/ติงติง-ทั่ง/
- 1-ติง-โจ๊ะ/-ติง-ติง/- -ติงทั่ง/-ติง-ทั่ง/ 2 - -โจ๊จ๊ะ/-โจ๊ะ-จ๊ะ/-ติง-ทั่ง/ติง-ทั่งติง
- ติง -โจ๊จ๊ะ/ติงติง-ทั่ง/
- ติง-โจ๊ะ/-ติง-ทั่ง/ - - - ติง/-ทั่ง-ทั่ง
ข้อใดคือเพลงในตับนางซินเดอเรลลา
- กล่อมพญา เวสสุกรรม ลมหวน
- กล่อมพญา ครอบจักรวาล เวสสุกรรม
- ฝรั่งจรกา ครอบจักรวาล หงษ์ทอง
- ฝรั่งจรกา หงษ์ทอง ลมหวน
1 บุหลันลอยเลื่อน 2.ราตรีประดับดาว 3.ตับพระลอ 4.แขกมอญบางขุนพรหม 5.พระอาทิตย์ชิงดวง
ผลงานข้อในเป็นบทพระราชนิพนธ์ของกษัตริย์
- 1,2
- 1, 2, 5,
- 2,3
- 1, 2, 4
1 บุหลันลอยเลื่อน 2.ราตรีประดับดาว 3.ตับพระลอ 4.แขกมอญบางขุนพรหม 5.พระอาทิตย์ชิงดวง
เพลงในข้อใดเรียงลำดับก่อนหลัง
- 1,2,5
- 1,2,4
- 1,5,4,2
- 4,2,5
ข้อใดมีความสัมพันธ์กันมากที่สุด
- เขมรกล่อมลูก เขมรไทรโยค
- ลาวดวงเดือน ลาวคำหอม
- ราตรีประดับดาว เขมรพวง
- แขกมอญบางขุนพรหม แขกบรเทศ
ข้อใดเกี่ยวข้องกับดนตรีล้านนา
- วงเต่งทิ้ง ,เจรียง
- วงเต่งทิ้ง ,วงป้าดเมือง
- วงกาหลอ, เจรียง
- วงกาหลอ, วงป้าดเมือง
การผสมวงดนตรีโดยมีฆ้องหุ่ย ๗ ลูก และขลุ่ยอู้ เป็นส่วนประกอบ น่าจะเป็นวงดนตรีประเภทใด
- ปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่
- ปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์
- ปี่พาทย์เครื่องใหญ่
- ปี่พาทย์เสภา
ข้อใดมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันมากที่สุด
- บัญเฑาะว์ ทับ ตะโพน
- บัญเฑาะว์ ตะโพน กรับ
- ทับ ตะโพน โหม่ง
- ตะโพน กรับ โหม่ง
ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบพื้นฐานของดนตรี
- Texture
- Melody
- Theory
- Rhythm
การผสมวงดนตรีในข้อใดที่เกิดก่อนและหลัง เรียงลำดับตามยุคสมัยประวัติศาสตร์ไทย
- วงปี่พาทย์เครื่องห้า วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ วงเครื่องสาย
- วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ วงเครื่องสายผสมขิม วงมโหรี
- วงขับไม้ วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ วงปี่พาทย์เครื่องห้า
- วงขับไม้ วงปี่พาทย์เครื่องห้า วงเครื่องสายผสมออร์แกน
บทเพลงในข้อใดที่มีวัตถุประสงค์ในการประพันธ์ เพื่อใช้ประกอบกิจกรรมในสังคม
- เพลงพราหมณ์ดีดน้ำเต้า
- เพลงเดี่ยวพญาโศก
- เพลงงามแสงเดือน
- เพลงบุหลันลอยเลื่อน
ข้อใดคือความแตกต่างของการขับร้องเพลงไทยเดิมและเพลงสากล
- การออกเสียงให้ตรงตามเสียงวรรณยุกต์
- การเอื้อน
- การร้องคู่เสียงหรือประสานเสียง
- การสร้างอารมณ์เพลงจากถ้อยคำ
ข้อใดไม่ใช่เทคนิคการขับร้องเพลงไทย
- การควง
- การควง
- การโหนเสียง
- การกระทบเสียง
ข้อใดแสดงถึงการผสมผสานขององค์ประกอบดนตรีต่าง ๆ น้อยที่สุด
- เพลงนกขมิ้น โดยวงมโหรีและมีการเดี่ยวรอบวง
- เพลงกราวใน โดยเดี่ยวระนาดเอก
- String Quartet in E flat ajor , Op. 71 No. 3 by Haydn
- Eine Kleine Nachtmusik for String Orchestra , K. 525 by Mozart
เครื่องดนตรีในข้อใดที่เกี่ยวข้องกับ "หน้าทับ"
- กลองแขก รำมะนา กลองทัด
- ตะโพน กลองแขก โทน
- รำมะนา กลองทัด กลองแขก
- ถูกทั้งหมด
การดูแลรักษาขลุ่ยอู้ที่ถูกต้องคือข้อใด
- ใช้ผ้าแห้งทำความสะอาดภายนอกตัวขลุ่ย
- ใช้ผ้าเปียกทำความสะอาดภายนอกตัวขลุ่ย
- ใช้ผ้าเปียกทำความสะอาดทั้งภายนอกและภายในตัวขลุ่ย
- ใช้ผ้าแห้งทำความสะอาดทั้งภายนอกและภายในตัวขลุ่ย
ความไพเราะของวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ คือข้อใด
- ความราบเรียบ เงียบสงบ และนุ่มนวล
- การสื่ออารมณ์เด่นชัดของระนาดเอกที่ใช้ไม้แข็งบรรเลง
- ความดังกึกก้อง โลดโผน และสนุกสนาน
- ความดังกระหึ่ม เงียบสงบ และโลดโผน
ข้อใดแสดงคุณค่าของดนตรีไทย ที่ได้รับการพัฒนามาจากภูมิปัญญาพื้นบ้าน
- บทเพลงลาวคำหอม
- บทเพลงงามแสงเดือน
- บทเพลงเขมรไทรโยค
- บทเพลงคลื่นกระทบฝั่ง
ข้อใดแสดงถึงการเผยแพร่ดนตรีไทยไปสู่นานาชาติ ที่เกิดขึ้นได้ง่ายและน่าจะพบได้เสมอ
- การนำเพลงไทยไปบรรเลงโดยวงดนตรีต่าง ๆ
- การนำเพลงนานาชาติมาบรรเลงโดยวงดนตรีไทย
- การขับร้องเพลงไทยโดยใช้ภาษาอังกฤษ
- การขับร้องและบรรเลงเพลงภาษา
ข้อใดต่อไปนี้เป็นองค์ประกอบที่ช่วยให้การขับร้องเพลงไทยเกิดความไพเราะ น่าฟัง
- ร้องให้ตรงตามระดับเสียงที่ถูกต้อง
- ออกเสียงชัดเจนตามอักขรวิธี
- จังหวะถูกต้องแม่นยำ
- ทุกข้อประกอบกัน
ข้อใดต่อไปนี้สามารถแบ่งวรรคตอนในการขับร้องได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
- บรรยาย / ความตามไท้ / เสด็จยาตร ยัง / ไทรโยค / ประพาส / พนาสัณฑ์
- บรรยายความ / ตาม / ไท้เสด็จ / ยาตร ยังไทรโยค / ประพาส / พนาสัณฑ์
- โอ้ละหนอ / ดวงเดือนเอย / พี่มาเว้า / รักเจ้าสาว / คำดวง
- โอ้ / ละหนอ / ดวงเดือน / เอย พี่มาเว้า / รักเจ้าสาว / คำดวง
เนื้อร้องเพลงเขมรไทรโยค ๓ ชั้น มีความเกี่ยวข้องกับข้อใดมากที่สุด
- บรรยายถึงความยากลำบากในการเดินทาง
- บรรยายถึงความโศกเศร้าที่ต้องจากภรรยา
- บรรยายถึงนางอันเป็นที่รัก
- บรรยายธรรมชาติ
ข้อใดคือลักษณะเด่นที่สุดอันเป็นเอกลักษณ์ของการขับร้องเพลงไทย
- ความชัดเจนของอักขระ
- มีการเอื้อน
- ใช้เสียงผ่านจมูก
- ใช้เทคนิคการครั่นเสียง
เครื่องดนตรีไทยสามารถแบ่งออกเป็น ๔ ประเภท ได้แก่ เครื่องตี เครื่องเป่า เครื่องดีด และเครื่องสี ในการแบ่งประเภทเครื่องดนตรีไทยนั้น
ใช้เกณฑ์อะไรในการแบ่ง
- ลักษณะของเครื่องดนตรี
- ท่าทางของผู้บรรเลง
- วัสดุที่ใช้ทำเครื่องดนตรี
- กริยาอาการของผู้บรรเลงที่ทำให้เครื่องดนตรีเกิดเสียง
ข้อใดเป็นวัสดุที่นิยมนำมาทำลิ้นปี่ชนิดต่าง ๆ ของไทย
- ใบมะพร้าวแห้ง
- ใบจากแห้ง
- ใบตาลแห้ง
- ใบลานแห้ง
กลองส่วนมากจะมีเส้นหนังร้อยขึงหน้ากลองเพื่อเร่งเสียง ซึ่งเรียกว่า “หนังเรียด” กลองชนิดใดที่มีหนังเรียดหุ้มตัวกลองทั้งใบ
- กลองตะโพน
- กลองแขก
- รำมะนา
- กลองทัด
เปิงมางคอกใช้ตีกำกับจังหวะเฉพาะในวงปี่พาทย์มอญเท่านั้น
- ถูก
- ผิด
ขลุ่ยอู้มีขนาดเล็กและเสียงแหลมกว่าขลุ่ยเพียงออ
- ถูก
- ผิด
กลองชนิดใดใช้ตีคู่กับตะโพนไทยในวงปี่พาทย์ไม้แข็ง
- กลองแขก
- กลองชาตรี
- เปิงมางคอก
- กลองทัด
ปี่ชวากับปี่ไฉนมีลักษณะแตกต่างกันหรือไม่ เพราะเหตุใด
- แตกต่างกัน เพราะ ปี่ไฉนจะมีกระบังลมที่ลิ้นปี่แต่ปี่ชวาไม่มี
- ไม่แตกต่างกัน เพราะ ปี่ไฉนและปี่ชวามีวิธีการเป่าและประสมอยู่ในวงปี่พาทย์เหมือนกัน
- ไม่แตกต่างกัน เพราะ ปี่ไฉนกับปี่ชวามีรูปร่างลักษณะเหมือนกัน
- แตกต่างกัน เพราะ ปี่ไฉนจะมีขนาดเล็กและเสียงแหลมเล็กกว่าปี่ชวา
“เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าที่ไม่มีลิ้น ทำจากไม้รวกหรือไม้เนื้อแข็ง เจาะรูเรียงกันสำหรับบังคับเสียงตรงที่เป่ามีดากซึ่งทำจากไม้เหลาเป็นท่อนกลมบากให้มีรูเพื่อให้เกิดเสียง” ข้อความข้างต้นเป็นลักษณะของเครื่องดนตรีชนิดใด
- ขลุ่ย
- แคน
- ปี่
- โหวด
กลองชนิดใดต่อไปนี้จะต้องตีเป็นคู่
- กลองแขก
- กลองยาว
- ตะโพน
- เปิงมางคอก
“เป็นเครื่องตีที่ขึงด้วยหนัง ใช้เชือกหรือเอ็นร้อยโยงเร่งเสียงจากขอบไปถึงคอกลอง ตัวกลองหรือหุ่นมีเป็นเครื่องตีที่ขึงด้วยหนัง ใช้เชือกหรือเอ็นร้อยโยงเร่งเสียงจากขอบไปถึงคอกลอง ตัวกลองหรือหุ่นมี ลักษณะคล้ายดอกลำโพง วัสดุที่ใช้ทำหุ่นนิยมใช้ดินเผาหรือเซรามิก” จากข้อความที่กล่าวมาเป็นลักษณะของเครื่องดนตรีชนิดใด
- โทนมโหรี
- รำมะนามโหรี
- กลองยาว
- กลองแขก
ข้อใดต่อไปนี้เป็นเครื่องดนตรีประเภทเดี่ยวกันทั้งหมด
- กระจับปี่ / จะเข้ / พิณเพี๊ยะ
- ฆ้องวงใหญ่ / ขลุ่ยเพียง / ระนาดเอก
- กระจับปี่ / ปี่ชวา / ขลุ่ยเพียงออ
- จะเข้ / ปี่จุม / ซึง
เครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องเป่าชนิดใดมีวิธีการเป่าและระบบการบังคับเสียงต่างจากพวก
- ขลุ่ยหลิบ
- ปี่มอญ
- ปี่ใน
- ขลุ่ยเพียงออ
ข้อใดเป็นวัสดุที่นิยมนำมาทำแคน
- ไม้ซาง
- ไม้รวก
- ไม้ไผ่
- ไม้อ้อ
ข้อใดอธิบายลักษณะของดนตรีพื้นบ้านภาคอีสานได้ถูกต้องที่สุด
- ดนตรีพื้นบ้านภาคอีสานจะเรียบง่าย ใช้เครื่องดนตรีไม่มาก จะใช้เครื่องจังหวะเป็นหลักไม่มีเครื่องทำนอง
- ดนตรีพื้นบ้านภาคอีสานจะมีท่วงทำนองไพเราะ สนุกสนาน จังหวะค่อนข้างกระชับ
- ดนตรีพื้นบ้านภาคอีสานส่วนมากจะมีความเกี่ยวข้องกับการเกษตร และแม่น้ำลำคลอง
- ดนตรีพื้นบ้านภาคอีสานจะมีจังหวะค่อนข้างช้า ลีลาท่วงทำนองอ่อนช้อย
พิณน้ำเต้ามีรูปร่างลักษณะคล้ายกับเครื่องดนตรีชนิดใด
- กระจับปี่
- จะเข้
- ซึง
- พิณเพี๊ยะ
วงดนตรีไทยทุกวงจะต้องมีเครื่องหนังหรือกลองตีกำกับจังหวะ ซึ่งจังหวะที่เครื่องหนังตีกำกับนี้เรียกว่าจังหวะหน้าทับ
- ถูก
- ผิด
จังหวะหน้าทับ คือ การกำกับจังหวะด้วยเครื่องหนัง เพลงไทยทุกเพลงย่องมีจังหวะหน้าทับตีกำกับเพื่อให้การบรรเลงดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย รวมถึงเป็นการบ่งบอกอัตราจังหวะของเพลงที่บรรเลงหรือขับร้อง คำว่า “ทับ” นั้น นักเรียนคิดว่าเป็นเครื่องดนตรีชนิดใด
- กลองทัด
- โทน
- กลองแขก
- ตะโพน
ดนตรีไทยมีบทบาทและความสำคัญต่อสังคมไทยอย่างไร
- เป็นมรดกอันล้ำค่าของสังคมไทย
- บรรเลงประกอบพิธีกรรมและพระราชพิธีต่าง ๆ
- เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนในสังคม
- ถูกทุกข้อ
ดนตรีไทยมีบทบาทและความสำคัญต่อสังคมไทยทั้งด้าน พระราชพิธี พิธีกรรมต่าง ๆ วิถีชีวิต และเป็นมรดกอันล้ำค่ายิ่งของไทย
- ผิด
- ถูก
ในสมัยก่อนคนชั้นสูงหรือเจ้านายจะสรรหานักดนตรีที่มีฝีมือและรับอุปการะเลี้ยงดูซึ่งเรียกว่า “ระบบอุปถัมภ์” เพื่อให้นักดนตรีเหล่านี้สร้างสรรค์งานดนตรีและพัฒนาฝีมือสำหรับประชันกับวงดนตรีต่าง ๆ นักเรียนคิดว่าระบบนี้มีความสำคัญอย่างไรกับดนตรีไทย
- การคิดค้นสร้างสรรค์เพลงหรือวิธีการบรรเลงที่แปลกใหม่ช่วยให้ดนตรีไทยพัฒนามากยิ่งขึ้น
- เกิดแรงจูงใจให้นักดนตรีมีความมานะพยายามพัฒนาฝีมือของตนเอง
- ช่วยให้นักดนตรีไทยและครอบครัวมีความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้น
- ถูกทุกข้อ
ข้อใดต่อนี้เป็นเทคนิคการบรรเลงระนาดเอกโดยเฉพาะ
- กรอ
- คาบลูกคาบดอก
- สะบัด
- ถูกทุกข้อ
ซดรม / รมซล / หากบรรเลงตามโน้ตข้างต้นจะต้องบรรเลงในช่วงเสียงสูงทั้งหมด
- ถูก
- ผิด
โน้ตเพลงไทย ๑ บรรทัดจะมี ๘ ห้องเพลง ซึ่งแต่ละห้องเพลงสามารถบรรจุโน้ตได้ไม่เกิน ๓ ตัว
- ผิด
- ถูก
เพลงสำเนียงไทยทุกเพลงผู้ประพันธ์จะใช้โน้ต ๕ เสียงเท่านั้นในการประพันธ์เพลง
- ผิด
- ถูก
ข้อใดต่อไปนี้ คือ เทคนิคการบรรเลงดนตรีไทยทั้งหมด
- การสะเดาะ การสะเด็ด
- การเหลื่อม การล่วงหน้า
- การลักจังหวะ การย้อยจังหวะ
- การขัด การล้อ การสะเดาะ การเหลื่อม การลักจังหวะ
ครั้งหนึ่งเคยเดินทางไปประเทศอังกฤษและได้รับคำชมเชยจากพระนางเจ้าวิคตอเรียพระบรมราชินีแห่งประเทศอังกฤษ ทรงมีรับสั่งว่า “เวลาเป่าหายใจบ้างหรือไม่ เพราะเสียงขลุ่ยดังกังวานตลอดเวลา”ข้อความที่กล่าวมีความเกี่ยวข้องกับบุคคลใด
- หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)
- พระประดิษฐ์ไพเราะ (มี ดุริยางกูร)
- ครูช้อย สุนทรวาทิน
- พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์)
หากนักเรียนต้องจัดพิธีไหว้ครูดนตรีไทยแต่นักเรียนไม่มีเศียรครูดนตรีเพื่อตั้งบูชาในพิธี นักเรียนควรใช้เครื่องดนตรีชนิดใดตั้งแทนเศียรครูจึงเหมาะสมที่สุด
- ตะโพน
- ระนาดเอก
- ฆ้องวง
- ปี่ใน
เพลงเต้นกำรำเคียว เป็นการละเล่นพื้นบ้านอย่างหนึ่งของภาคกลางที่มีความเกี่ยวข้องกับอาชีพใด
- ประมง
- ทำสวน
- เลี้ยงสัตว์
- กสิกรรม
วงกาหลอ เป็นวงดนตรีพื้นเมืองภาคใต้ ที่ใช้บรรเลงในศพ เพื่อให้ผู้ตายไปสู่ภพภูมิที่ดี
- ผิด
- ถูก
ข้อใดต่อไปนี้เป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ทั้งหมด
- กลองยาว ฆ้องคู่ ฆ้องโหม่ง
- ทับ ฆ้องคู่ กลองชาตรี
- กลองแอล โทนชาตรี กลองชาตรี
- กลองชาตรี กลองหาง ตะโล้ดโป๊ด
ปี่แนเป็นเครื่องเป่าพื้นเมืองภาคเหนือมีรูปร่างลักษณะคล้ายกับเครื่องดนตรีชนิดใด
- ปี่ใน
- ปี่ชวา
- ปี่จุม
- ปี่มอญ
ข้อใดต่อไปนี้เป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือทั้งหมด
- สะล้อ ซึง ปี่จุม
- ทับ สะล้อ ปี่แน
- ตะโล้ดโป๊ด ปี่จุม กลองหาง
- ซึง แคน สะล้อ
ข้อใดคือกลองพื้นเมืองภาคเหนือทั้งหมด
- กลองยาว ตะโล้ดโป๊ด
- กลองชาตรี โทนชาตรี
- กลองสะบัดชัย กลองแอล
- กลองหาง กลองเส็ง
ปี่ซอหรือปี่จุมเป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองของภาคใด
- ภาคกลาง
- ภาคอีสาน
- ภาคใต้
- ภาคเหนือ
วงดนตรีไทยวงหนึ่งบรรเลงเพลงตั้งแต่อัตราจังหวะ ๓ ชั้น ๒ ชั้น และชั้นเดียวต่อเนื่องกัน นักเรียนคิดว่าวงดนตรีวงนี้บรรเลงเพลงประเภทใด
- เพลงตับ
- เพลงบรรเลงล้วน
- เพลงเถา
- เพลงชุด
เพลงราตรีประดับดาว เป็นเพลงที่ได้แต่งขึ้นจากเพลงใด
- เพลงมอญอ้อยอิ่ง สองชั้น
- เพลงมอญรำดาบ สองชั้น
- เพลงมอญดูดาว สองชั้น
- เพลงมอญเก่า
ใครเป็นผู้ประพันธ์ทำนองเพลงชาติไทย
- หลวงวิจิตรวาทการ
- พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์)
- พระเจนดุริยางค์ (ปีเตอร์ ไฟท์)
- ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธ์)
ในการแสดงโขน ละครนั้น เพลงที่ใช้ประกอบการแสดง คือ เพลงหน้าพาทย์ นักเรียนคิดว่า ข้อใดเป็นสาเหตุที่ต้องใช้เพลงหน้าพาทย์ประกอบการแสดงโขน ละคร
- เพราะเพลงหน้าพาทย์เป็นเพลงชั้นสูง จึงเหมาะการแสดงนาฏศิลป์ชั้นสูงอย่างโขน ละคร
- เพราะเพลงหน้าพาทย์ เป็นเพลงที่ใช้บรรเลงประกอบกิริยา อาการของตัวละคร
- เพราะท่วงทำนองของเพลงหน้าพาทย์ จะช่วยให้การแสดงมีความสมจริงมากยิ่งขึ้น
- เป็นสิ่งที่บรมครูทางดนตรีไทยและนาฏศิลป์ได้ร่วมกันกำหนดไว้ตั้งแต่โบราณและได้ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน
นายลาวแพนแข่งขันบรรเลงระนาดเอกกับนายเชิดนอกซึ่งเป็นลูกศิษย์ นายลาวแพนบรรเลงทำนองได้อย่างถูกต้องแม่นยำ พร้อมทั้งบรรเลงเทคนิคต่าง ๆ ของระนาดเอกได้อย่างชัดเจน ส่วนนายเชิดนอกบรรเลงระนาดเอกได้รวดเร็วคล่องแคล่วแต่บรรเลงทำนองผิดพลาดเล็กน้อย และบรรเลงเทคนิคต่างๆของระนาดเอกค่อนข้างชัดเจน หากนักเรียนได้รับเชิญเป็นกรรมการตัดสินนักเรียนจะตัดสินให้ใครเป็นฝ่าย ชนะจึงจะถูกต้องเที่ยงตรงที่สุด เพราะเหตุใด
- นายลาวแพน เพราะ บรรเลงระนาดเอกได้ถูกใจกรรมการ
- นายลาวแพน เพราะ บรรเลงระนาดเอกได้อย่างถูกต้องแม่นยำทั้งทำนองและจังหวะ รวมถึงสามารถบรรเลงเทคนิคต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน
- นายเชิดนอก เพราะ บรรเลงระนาดเอกได้อย่างคล่องแคล่วมากกว่านายลาวแพน
- นายเชิดนอก เพราะ นายเชิดนอกบรรเลงระนาดเอกได้ใกล้เคียงกับนายลาวแพนแต่นายเชิดนอกเป็นศิษย์ของตนเอง
ข้อใดอธิบายลักษณะของเพลงไทยประเภท เพลงเถา ได้ถูกต้อง
- เพลงเถา เป็นเพลงที่ค่อนข้างยาว มีลักษณะท่วงทำนองสอดสลับกันไปมาเหมือนเถาวัลย์
- เพลงเถา เป็นเพลงที่มี 3 อัตราจังหวะ คือ 3 ชั้น 2 ชั้น และชั้นเดี่ยว การบรรเลงต้องบรรเลงต่อเนื่องกันทั้ง 3 อัตราจังหวะ
- เพลงเถา เป็นเพลงที่มี 3 อัตราจังหวะ คือ 3 ชั้น 2 ชั้น และชั้นเดียว โดยจะเลือกบรรเลงอัตราจังหวะใดก็ได้
- เพลงเถา เป็นเพลงที่มีการขับร้องสลับกับการบรรเลงเครื่องดนตรี
ข้อใดเป็นเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
- เพลงเขมรกล่อมลูก 2 ชั้น
- เพลงโหมโรงคลื่นกระทบฝั่ง
- เพลงมอญดูดาว 2 ชั้น
- เพลงคลื่นกระทบฝั่ง 2 ชั้น
เพลงเรื่องและเพลงตับจัดเป็นเพลงประเภทเดียวกัน
- ผิด
- ถูก
คีตกวีท่านใดเป็นผู้ประพันธ์เพลง ลาวดวงเดือน
- หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม
- พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
นายพญาโศกเป็นนักดนตรีไทย นายพญาโศกจะต้องปฏิบัติอย่างไรจึงจะสามารถบรรเลงดนตรีไทยได้อย่างมีคุณภาพ ไพเราะ
- หมั่นฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอ
- มีความมุ่งมั่น อดทน
- ใฝ่หาความรู้และครูที่มีความสามารถ
- ทุกข้อประกอบกัน
ข้อใดอธิบายความหมายของคำว่า “ทาง” ในทางดนตรีไทยได้ถูกต้อง
- วิธีดำเนินทำนองของเพลง เช่น ทางเดี่ยวและทางหมู่ หรือเพลงนี้ทางของครู ก เป็นต้น
- ระดับเสียงหรือบันไดเสียงในการบรรเลงเพลงของวงดนตรีไทยประเภทต่าง ๆ เช่น ทางเพียงออ เป็นต้น
- วิธีดำเนินทำนองของเครื่องดนตรีแต่ละชนิด เช่น ทางระนาดเอก ทางทุ้ม ทางจะเข้ เป็นต้น
- ถูกทุกข้อ
วงดนตรีไทยแต่ละประเภทจะบรรเลงเพลงไทยโดยใช้บันไดเสียงแตกต่างกัน ซึ่งในดนตรีไทยเรียกว่า “ทางเสียง” นักเรียนคิดว่าเหตุใดวงดนตรีไทยแต่ละประเภทจึงต้องบรรเลงทางเสียงแตกต่างกัน
- เป็นสิ่งที่ครูดนตรีไทยได้กำหนดไว้แต่โบราณ
- เพื่อให้เหมาะสมกับบทเพลงที่บรรเลง
- เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติเครื่องดนตรีของแต่ละวง จะได้คุณภาพเสียงที่เหมาะสมและไพเราะ
- ถูกทุกข้อ
การบรรเลงหรือการประกวดดนตรีไทย ย่อมมีความแตกต่างกันค่อนข้างมากในการประเมินหรือการตัดสินซึ่งส่งผลต่อความเที่ยงตรงในการประเมินหรือตัดสิน นักเรียนคิดว่าสิ่งใดที่ทำให้การประเมินหรือการตัดสินการบรรเลงดนตรีไทยมีความเที่ยงตรงและยุติธรรม
- บทเพลงที่บรรเลง
- ทักษะของผู้บรรเลง
- เกณฑ์การประเมิน
- คุณวุฒิของผู้ประเมิน
ข้อใดคือทางเสียงที่ใช้กับวงปี่พาทย์ได้เหมาะสมที่สุด (คีย์เสียง)
- ทางเพียงออบน
- ทางใน
- ทางชวา
- ทางเพียงออล่าง
เพลงตับ เป็นเพลงไทยประเภทหนึ่ง ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ เพลงตับเรื่อง และเพลงตับเพลง นักเรียนคิดว่าข้อใดสามารถอธิบายลักษณะของเพลงตับทั้ง ๒ ชนิดได้ถูกต้องที่สุด
- เพลงตับเรื่อง คือ การนำเพลงต่าง ๆ มาขับร้องและบรรเลงติดต่อกันโดยแต่ละเพลงจะมีเนื้อร้อง เป็นเรื่องเดียวกัน
ส่วนตับเพลงนั้น เป็นการนำเพลงต่าง ๆ ในอัตราจังหวะเดียวกัน ท่วงทำนองสอดคล้องใกล้เคียงกันมาขับร้องและบรรเลงติดต่อกัน โดยไม่จำเป็นว่าเนื้อร้องจะต้องเป็นเรื่องเดียวกัน - เพลงตับเรื่อง เป็นการนำเพลงต่าง ๆ ในอัตราจังหวะเดียวกัน ท่วงทำนองสอดคล้องใกล้เคียงกัน มาขับร้อง และบรรเลงติดต่อกัน โดยไม่จำเป็นว่าเนื้อร้องจะต้องเป็นเรื่องเดียวกัน
ส่วนตับเพลงนั้น คือ การนำเพลงต่าง ๆ มาขับร้องและบรรเลงติดต่อกันโดยแต่ละเพลงจะมีเนื้อร้องเป็นเรื่องเดียวกัน - เพลงตับเรื่อง คือ การนำเพลงต่าง ๆ มาขับร้องและบรรเลงติดต่อกันเป็นเรื่องราว ส่วนตับเพลง คือการนำเพลงต่าง ๆ มาขับร้องและบรรเลงติดต่อกันเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องราว
- ทั้งเพลงตับเรื่องและตับเพลง คือ การนำเพลงต่าง ๆ มาขับร้องและบรรเลงติดต่อกันไปเรื่อย ๆ สำหรับการเรียกชื่อต่างกันนั้น ขึ้นอยู่กับครูดนตรีแต่ละท่าน
ข้อใดต่อไปนี้มีความสัมพันธ์กัน
- ครูมนตรี ตราโมท - เพลงเขมรไทรโยค
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ - เพลงลาวดำเนินทราย
- พระประดิษฐ์ไพเราะ (มี ดุริยางกูร) - เพลงเชิดจีน
- หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) – เพลงลาวดวงเดือน
ข้อใดคือทางเสียงที่ใช้กับวงเครื่องสายได้เหมาะสมที่สุด
- ทางเพียงออบน
- ทางเพียงออล่าง
- ทางใน
- ทางชวา
เหตุใดชื่อเพลงไทยบางเพลงจึงขึ้นต้นด้วยชื่อของชาติต่าง ๆ เช่น เพลงลาวครวญ เพลงแขกต่อยหม้อ เพลงมอญรำดาบ เพลงเขมรพวง เป็นต้น
- เพราะผู้ประพันธ์นำเพลงของชาติต่าง ๆ มาประพันธ์เป็นเพลงไทย
- เพราะผู้ประพันธ์ได้ประพันธ์เพลงให้มีทำนองเลียนสำเนียงดนตรีของชาติต่าง ๆ
- เพราะผู้ประพันธ์เพลงไทยร่วมประพันธ์กับผู้ประพันธ์เพลงของต่างชาติ
- เพราะเนื้อร้องมีความเกี่ยวข้องกับชาติที่มีชื่อขึ้นต้นเพลง
ข้อใดคือทางเสียงที่ใช้กับวงเครื่องสายปี่ชวาได้เหมาะสมที่สุด
- ทางชวา
- ทางเพียงออบน
- ทางใน
- ทางเพียงออล่าง
ข้อใดต่อไปนี้สามารถอธิบายลักษณะของวงเครื่องประโคมได้ถูกต้องเหมาะสม
- เป็นการประสมวงดนตรีไทยแบบพิเศษ เพื่อใช้เฉพาะในงานพระราชพิธีต่าง ๆ
- เป็นวงดนตรีที่ประสมขึ้นเพื่อบรรเลงประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ
- เป็นวงดนตรีที่บรรเลงประกอบพระราชพิธีจรดพระนัลคัลแรกนาขวัญ
- เป็นวงดนตรีที่บรรเลงประกอบในงานอวมงคลเท่านั้น
หากนักเรียนได้รับมอบหมายให้ตีเครื่องหนังกำกับจังหวะในวงปี่พาทย์เสภา นักเรียนควรนำกลองชนิดใดตีกำกับจังหวะจึงจะถูกต้องเหมาะสม
- กลองแขก
- ตะโพน
- โทน - รำมะนา
- กลองสองหน้า
ข้อใดอธิบายลักษณะของวงมโหรีได้ถูกต้อง
- วงมโหรี เป็นวงที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีเป็นหลัก
- วงมโหรี เป็นวงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายเป็นหลัก
- วงมโหรี เป็นวงที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีครบทุกประเภท คือ เครื่องตี เครื่องเป่า เครื่องดีด และเครื่องสีและมีเครื่องดนตรีที่เป็นเอกลักษณ์ของวงคือ ซอสามสาย
- ถูกทุกข้อ
ละครดึกดำบรรพ์ได้แบบอย่างมาจากการแสดงชนิดใด
- ละครใน
- โอเปร่า
- รามเกียรติ์ของประเทศอิโดนีเซีย
- ลิเก
วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์เป็นวงดนตรีไทยที่มีเสียงทุ้ม นุ่มนวล
- ผิด
- ถูก
ข้อใดต่อไปนี้อธิบายลักษณะวงเครื่องสายผสมได้ถูกต้อง
- วงเครื่องสายผสม เป็นวงที่นำเครื่องดนตรีทั้งของไทยและต่างชาติมาผสมในวงเครื่องสายไทย
- วงเครื่องสายผสม เป็นวงที่นำเครื่องดนตรีต่างชาติมาผสมกับวงเครื่องสายไทย
- วงเครื่องสายผสม เป็นวงที่นำวงดนตรีไทยประเภทต่าง ๆ มาผสมกับวงเครื่องสายไทย
- วงเครื่องสายผสม เป็นวงที่นำเครื่องดนตรีไทยที่ไม่ได้อยู่ในวงเครื่องสายมาผสม
“มีเสียงสูง แหลม เล็ก บรรเลงทำนองถี่ ๆ เป็นผู้นำในวงเครื่องสาย” ข้อความที่กล่าวมาตรงกับลักษณะของเครื่องดนตรีชนิดใด
- จะเข้
- ซออู้
- ขลุ่ยหลิบ
- ซอด้วง
วงดนตรีไทย สามารถแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
- ๔ ประเภท ได้แก่ วงสำหรับพิธีกรรม วงสำหรับการแสดง วงสำหรับพระราชพิธี วงสำหรับศาสนา
- ๓ ประเภท ได้แก่ วงปี่พาทย์ วงเครื่องสาย วงมโหรี
- ๔ ประเภท ได้แก่ วงปี่พาทย์เครื่องเล็ก วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ วงมโหรีเครื่องเล็ก วงมโหรีเครื่องใหญ่
- ๓ ประเภท ได้แก่ วงเครื่องเล็ก วงเครื่องกลาง วงเครื่องใหญ่
การนำเครื่องดนตรีชนิดต่าง ๆ ทั้งของไทยและต่างชาติมาประสมในวงเครื่องสายไทย เช่น ขิม ออร์แกนเปียโน เกิดขึ้นในสมัยใด
- รัชกาลที่ ๕
- รัชกาลที่ ๖
- รัชกาลที่ ๔
- รัชกาลที่ ๗
วงดนตรีชนิดใดใช้บรรเลงในงานศพเท่านั้น
- วงปี่พาทย์ไม้นวม
- วงปี่พาทย์มอญ
- วงปี่พาทย์เสภา
- วงปี่พาทย์นางหงส์
“ขลุ่ยอู้ กลองตะโพน ฆ้องหุ่ย ๗ ใบ” เครื่องดนตรีทั้งสามชิ้นนี้ถือเป็นเอกลักษณ์ของวงดนตรีข้อใด
- วงปี่พาทย์ไม้นวม
- วงปี่พาทย์นางหงส์
- วงมโหรีเครื่องคู่
- วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์
พัดชาเป็นผู้บรรเลงเครื่องเป่าในวงปี่พาทย์ไม้แข็ง หากผู้บรรเลงระนาดเอกเปลี่ยนไม้ตีระนาดเอกเป็นไม้นวม นักเรียนคิดว่านายพัดชาจะต้องบรรเลงเครื่องดนตรีชนิดใดจึงจะถูกต้องเหมาะสม
- ขลุ่ยหลิบ
- ปี่ชวา
- ขลุ่ยเพียงออ
- ปี่ใน
เครื่องดนตรีข้อใด ไม่ ปรากฎในวงมโหรีเครื่องหก
- ซอสามสาย
- ทับ
- กระจับปี่
- ฉิ่ง
เทคนิคการบรรเลงข้อใดที่เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี ไม่ สามารถบรรเลงได้
- พรม
- ขยี้
- สะบัด
- ไขว้
นักเรียนเป็นสมาชิกในวงเครื่องสายของโรงเรียน ครูมอบหมายให้นักเรียนเป็นผู้บรรเลงเครื่องเป่าในวงเครื่องสายเครื่องเดี่ยว นักเรียนจะต้องบรรเลงเครื่องดนตรีชนิดใด
- ขลุ่ยกรวด
- ขลุ่ยเพียงออ
- ขลุ่ยอู้
- ขลุ่ยหลิบ
เครื่องดนตรีชนิดต่าง ๆ ในวงปี่พาทย์มีหน้าที่การดำเนินทำนองแตกต่างกัน นักเรียนคิดว่าข้อใดสามารถอธิบายหน้าที่ของฆ้องวงใหญ่ในวงปี่พาทย์ได้ถูกต้องที่สุด
- บรรเลงทำนองสอดแทรก หยอกล้อไปกับทำนองเพลง
- เป็นผู้นำวงโดยบรรเลงเก็บตามทำนองเพลง
- บรรเลงทำนองโหยหวนสอดประสานกับทำนองต่าง ๆ ในวง
- บรรเลงทำนองหลักของเพลงเป็นหลักให้กับวง
วงเครื่องสายกับวงมโหรีมีความแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร
- แตกต่างกัน เพราะ วงเครื่อสายได้รับอิทธิพลจากประเทศจีน ส่วนวงมโหรีเป็นของประเทศไทย
- ไม่แตกต่างกัน เพราะ มีวิธีการบรรเลงและโอกาสที่ใช้เหมือนกัน
- ไม่แตกต่างกัน เพราะ ทั้งสองวงมีรูปแบบ ลักษณะการประสมวงและการบรรเลงเหมือนกัน
- แตกต่างกัน เพราะ มีลักษณะ รูปแบบในการประสมวงแตกต่างกัน
นายสารถีเป็นหัวหน้าวงชมรมดนตรีไทยของโรงเรียน ในวันขึ้นปีใหม่ทางโรงเรียนได้จัดให้มีการตักบาตรบริเวณสนามฟุตบอล โดยมอบหมายให้ชมรมดนตรีไทยจัดวงดนตรีไทยร่วมบรรเลงในพิธีดังกล่าว ถ้านักเรียนเป็นนายสารถีนักเรียนจะนำวงดนตรีประเภทใดไปร่วมบรรเลงจึงจะเหมาะสมที่สุด
- วงปี่พาทย์เครื่องคู่
- วงปี่พาทย์ไม้นวม
- วงเครื่องสายเครื่องคู่
- วงมโหรีเครื่องใหญ่
เมื่อครั้งจอมนรินทร์แผ่นดินลับ เสภาขับหายังมีปี่พาทย์ไม่ มาถึงพระองค์ผู้ทรงชัย จึงเกิดมีขึ้นในอยุธยา "บทไหว้ครูเสภาข้างต้นแสดงถึงวิวัฒนาการของวงปี่พาทย์ที่นำมาบรรเลงประกอบการขับเสภา จึงเกิดเป็นวงปี่พาทย์เสภาขึ้น วิวัฒนาการของวงปี่พาทย์เสภานี้เกิดขึ้นในสมัยใด
- อยุธยาตอนปลาย
- รัตนโกสินทร์
- อยุธยาตอนต้น
- ธนบุรี
ปี่ชวาเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าที่ประสมอยู่ในวงปี่พาทย์นางหงส์
- ถูก
- ผิด
หากนักเรียนจะต้องนำวงดนตรีไทยไปบรรเลงในงานมงคลสมรสและมีพื้นที่สำหรับวางเครื่องดนตรีจำกัดไม่กว้างมากนัก นักเรียนควรนำวงดนตรีไทยประเภทใดไปบรรเลงจึงจะเหมาะสมที่สุด
- วงเครื่องสาย
- วงปี่พาทย์
- วงมโหรี
- ถูกทุกข้อ
วงดนตรีไทยในข้อใดที่มีปริมาณเสียงมากที่สุด
- วงเครื่องสายผสมระนาดเอก
- วงเครื่องสายปี่ชวา
- วงเครื่องสายผสมขิม
- วงเครื่องสายเครื่องเดี่ยว
เครื่องเป่าชนิดใดปรากฎในวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์เท่านั้น
- ขลุ่ยอู้
- ขลุ่ยหลิบ
- ขลุ่ยเพียงออ
- ขลุ่ยนก
ข้อใดเรียงลำดับ ก่อน-หลัง ของการพัฒนาวงปี่พาทย์
- เพิ่มระนาดทุ้มและฆ้องวงเล็กในวงปี่พาทย์
- มีผู้คิดประดิษฐ์ระนาดเอกเหล็กและระนาดทุ้มเหล็กประสมในวงปี่พาทย์
- ปรับปรุงพัฒนาวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์เพื่อใช้ประกอบการแสดง
- นำเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ ของไทยและต่างชาติประสมในวงเครื่องสายไทย
สมัยรัชกาลที่ ๑ ได้เพิ่มเครื่องดนตรีชนิดใดเข้าไปในวงปี่พาทย์
- ระนาดเอก
- ตะโพน
- ระนาดทุ้ม
- กลองทัด ๑ ลูก
เหตุใดเจ้านายหรือชนชั้นสูงในสมัยก่อนจะต้องหานักดนตรีที่มีฝีมือดีเข้ามาอุปการะเลี้ยงดู
- เพราะความสงสารชีวิตความเป็นอยู่ของนักดนตรีไทย จึงต้องการช่วยเหลือให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น
- ในสมัยก่อนมีข้อบังคับให้เจ้านาย ชนชั้นสูงจะต้องรับอุปถัมภ์นักดนตรีตามความเหมาะสมของฐานะเพื่อส่งเสริมดนตรีไทย
- ในสมัยก่อนเจ้านายหรือชนชั้นสูงจะมีวงดนตรีของตนเองดังนั้นจึงต้องหานักดนตรีฝีมือดีเข้ามาเพื่อประชันกับวงต่าง ๆ
- ถูกทุกข้อ
“มีผู้คิดประดิษฐ์ระนาดทุ้มและฆ้องวงเล็กประสมเข้าในวงปี่พาทย์เครื่องห้า” จากข้อความข้างต้นมีความเกี่ยวข้องกับรัชกาลใด
- รัชกาลที่ ๑
- รัชกาลที่ ๓
- รัชกาลที่ ๔
- รัชกาลที่ ๒
เหตุการณ์ใดต่อไปนี้มีความเกี่ยวข้องกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- นำลูกเปิงมางติดข้างสุกถ่วงน้ำหนักให้ได้เสียงแล้วนำมาตีกำกับจังหวะหน้าทับในวงปี่พาทย์
- เกิดวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์เพื่อบรรเลงประกอบการแสดงละคร
- มีผู้คิดประดิษฐ์อังกะลุง โดยได้แบบอย่างจากประเทศชวา
- สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ทรงประดิษฐ์ระนาดทุ้มเหล็ก
คีตลักษณ์คืออะไร
- รูปแบบของเพลง
- ทำนองเพลง
- เสียง
- พื้นฐานจังหวะ
เปรียบเสมือนกรอบที่หลอมรวมเอาจังหวะ ทำนอง พื้นผิว และสีสันของเสียงให้เคลื่อนที่ไปใน ทิศทางเดียวกัน” บทความนี้หมายถึงข้อใด
- ทำนองเพลง
- เสียง
- พื้นฐานจังหวะ
- คีตลักษณ์
ข้อใดคือรูปแบบของเพลงไทยเดิม
- เพลงโหมโรง
- เพลงเถา เพลงตับ
- เพลงลา
- ถูกทุกข้อ
เพลงลูกล้อลูกขัด เพลงเก็บ เพลงกรอ เกี่ยวข้องในด้านใดกับเพลงไทยเดิม
- คีตลักษณ์
- รูปแบบของเพลง
- ลีลาของเพลง
- ถูกทุกข้อ