เครื่องดนตรีของภาคอีสานตอนเหนือ
ประเภทเครื่องดีด
 
พิณ (ซึง, ซุง) เป็นเครื่องดนตรีที่บรรเลงด้วยการดีด มี ๒-๓ สายใช้ดีด เป็นทำนองเพลง ตัวพิณ และคันทวน นิยมแกะด้วยไม้ชิ้นเดียวกัน มีนม (คอร์ด )สำหรับกดเสียง สายพิณนิยมทำด้วยโลหะ ที่ดีดนิยมทำด้วยขาสัตว์แบนๆ เหลาให้บางพอที่จะดีด สะบัดได้


หุน (หืน) เป็นเครื่องดนตรีกึ่งดีดกึ่งเป่าอย่างหนึ่งมี ทั้งที่ทำด้วยไม้ไผ่และโลหะเซาะร่องตรงกลางเป็นลิ้นในตัว เวลาเล่นประกบหืนเข้ากับ ปาก ดีดที่ปลายข้างหนึ่งด้วยนิ้วหัวแม่มือหรือนิ้วชี้ อาศัยกระพุ้งปากเป็นกล่องเสียง ทำให้เกิดเสียงสูงต่ำตามขนาดของกระพุ้งปากที่ทำ สามารถดีดเป็นเสียงคล้ายเสียงคนออกเสียงสระ เครื่องดนตรีนี้มีเล่นกันในพวกชนเผ่ามูเซอ เรียกชื่อว่า เปี๊ยะ เครื่องดนตรีชนิดนี้มิได้มีเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้นแต่มีในทุกส่วนของโลก



ไหซองหรือพิณไห เป็นพิณที่ทำมาจากไหน้ำปลาหรือไหใส่ปลาร้า นิยมทำเป็นชุดๆ ละหลายใบโดยมีขนาดลดหลั่นกัน ตรงปากไหใช้เส้นยางวง หรือเส้นยางที่ตัดมาจากยางในของรถจักรยานผูกและขึงผ่านให้ได้เสียงประสานกัน โดยทำหน้าที่ให้เสียงทุ้มคล้ายกีตาร์เบสของฝรั่ง

ประเภทเครื่องสี


ซอพื้นเมือง
แตกต่างจากซออื่นๆ เพราะซอพื้นเมืองของภาคอีสานตอนเหนือ ทำด้วย ปี๊บ หรือกระป๋อง ในบางครั้งก็เรียกว่า ซอปี๊บ หรือ ซอกระป๋อง ซอชนิดนี้มีอยู่ ๒ สาย คันชักที่ใช้สีนั้นทำเช่นเดียวกับซอสามสาย คันชักของซอปี๊บจะอยู่ข้างนอก วิธีการสีเช่นเดียวกับซอสามสายหรือไวโอลิน การเล่นเพลงเช่นเดียวกับพิณ

ซอไม้ไผ่(ซอกระบอก,ซอบั้ง)ทำด้วยไม้ไผ่หนึ่งปล้องมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณสองถึงสามนิ้วถากผิวออกจนเหลือกระบอกบางๆ เจาะรูให้เกิดโพรงเสียง ขึ้นสายสองสายไปตามยาวของปล้องไม้ไผ่ แล้วสีด้วยคันชัก ซอไม้ไผ่มีข้อเสียที่เสียงเบาเกินไป

ประเภทเครื่องตี

กลองยาว(กลองหาง) เป็นกลองขึ้นหนังหน้าเดียว ตัวกลองทำด้วยไม้จริง เช่น ไม้มะม่วง ส่วนบน ด้านหน้ากลอง ใหญ่ ส่วน ท้ายมีลักษณะเรียว มีหลายขนาด ตรงกลางของหน้ากลองจะติดข้าวสุกบดผสมขี้เถ้าถ่วงเสียงตัวกลองยาวนั้น




กลองเส็ง ( กลองกิ่ง , กลองแต้) เป็นกลองคู่ประเภทหน้าเดียว นิยมใช้สำหรับการแข่งขันประลองความดังกัน หรืออาจใช้สำหรับตีในงานบุญต่างๆ เช่น งานบุญบั้งไฟ การตีกลองเส็งจะใช้ไม้ตีซึ่งนิยมใช้ไม้เค็ง (ไม้หยี) เพราะเหนียวและทนทานกว่าไม้ชนิดอื่นๆ




กลองตุ้ม เป็นกลองสองหน้า มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๓๐ ซม. ยาว ๔๐ ซม.ขึงด้วยหนังทั้งสองหน้า ตัวกลองทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ใช้ขึ้นหน้าด้วยเชือกหนัง ตีด้วยมือ ส่วนใหญ่ใช้ตี ประกอบกับกลองยาว ในขบวนแห่หรือขบวนฟ้อนในเทศกาลต่างๆ





กลองตึ้ง(กาบเบื้อง) เป็นกลองรำมะนาขนาดใหญ่ที่ใช้ในวงกลองยาว เวลาตีต้องใช้คนสองคนหาม และให้คนที่หามอยู่ข้างหลังเป็นคนตีไปด้วย


ผ่างฮาด (ฆ้องโหม่ง)แบบโบราณชนิดที่ไม่มีปุ่มนูนตรงกลางเหมือนฆ้องทั่วๆไปคือ แผ่นหน้าของผ่างฮาด จะ เรียบเสมอกันหมดนิยมใช้ ตีผสมกับเครื่องกำกับจังหวะในขบวนฟ้อนผู้ไทฟ้อนเซิ้งบั้งไฟ


หมากกับแก๊บ ( หมากก๊อบแก๊บ, กรับคู่ ) เป็นกรับพื้นเมืองอีสานทำด้วยไม้ธรรมดา สองชิ้น ทำเป็นร่องฟันใช้ครูดหรือกรีดตามจังหวะ


ประเภทเครื่องเป่า
แคน เป็น เครื่องดนตรีที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดของ แคนทำด้วยไม้ซาง มีลิ้นโลหะทองแดง บางๆ อยู่ใน เต้าแคน แคนมีหลายขนาด เช่น แคน ๗ แคน ๙ ด้าน ข้างเต้าแคนด้านบนมีรูปิดเปิดบังคับ



โหวด เป็นเครื่องเป่าชนิดหนึ่งที่ไม่มีลิ้น เกิดจากกระแสลมที่เป่าผ่านไม้รวก   หรือไม้ เฮี้ย (ไม้กู่แคน) หรือไม้ไผ่ ด้านรู เปิดของตัวโหวดทำด้วยไม้รวกขนาดเล็ก สั้น ยาว ( เรียงลำดับตามความสูงต่ำของเสียง) ติดอยู่รอบกระบอกไม้ไผ่ที่ใช้เป็นแกนกลาง ติดกันด้วยขี้สูด(ชัน) มีจำนวน ๖-๙ เลา ความ ยาวประมาณ ๒๕ เซนติเมตร  เวลาเป่าจะหมุนไปรอบๆ ตามเสียงที่ต้องการ



ปี่ผู้ไท เป็นปี่ที่ทำจากไม้กู่แคนโดยเอากู่แคนมาปล้องหนึ่งตัดโดยเปิดปลายข้างหนึ่งและปิดข้ออีกด้านหนึ่ง  ตรงปลายด้านที่บั้งข้อ เจาะช่องสำหรับ ใส่ลิ้นที่ ทำด้วยทองเหลือง  เจาะรูเยื่อ๑รู และรูนับ๕รู   ปรับเสียงให้เท่ากับเสียงแคน