เครื่องดนตรีพื้นเมืองภาคใต้ ( วัฒนธรรมไทยพุทธ )
ประเภทเครื่องตี

ทับ หรือ โทนชาตรี เป็นกลองหุ้มหนังหน้าเดียวทำด้วยไม้ขนุนหน้ากลองนิยมขึงด้วยหนังค่างหรือหนังแมว เนื่องจากมีความเหนียว และค่อนข้างเบา ขึงหนังให้ตึงด้วยหวายหรือเอ็น ทับใช้ตีจังหวะควบคุมการ เปลี่ยนจังหวะ เสริมลีลาท่าทางการแสดงละครชาตรี โนรา และหนังตะลุง ปกติใช้ทับตีประกอบกับกลองชาตรี ตามตำนาน เรียกทับลูกเดียวว่า “น้ำตาตก ” และอีกลูกหนึ่งเรียกว่า“ นกเขาขัน ” ทับเป็นเครื่องดนตรี ที่มีความสำคัญ ในการให้จังหวะควบคุมการเปลี่ยนแปลงจังหวะและ เสริมท่ารำของการแสดงโนราให้ดีเยี่ยม ทำด้วยไม้ ขนุน ทับใบหนึ่งจะมีเสียงทุ้ม เรียกว่า “ ลูกเทิง” ส่วนอีกใบ หนึ่งจะ มีเสียงแหลมเรียกว่า “ ลูกฉับ"

กลองชาตรีหรือกลองตุ๊ก มีรูปร่างเหมือนกับกลองทัดแต่มีขนาดเล็กกว่าตัวกลองทำมาจากไม้ขนุน เพราะจะทำให้เสียงดังดี หน้ากลอดขึงด้วยหนังวัว หรือหนังควายโดยใช้หมุดไม้ ( ชาวใต้เรียกว่า “ ลูกสัก ” ) สำหรับตอกยึดไว้กับตัวหุ่น กลองชาตรีใช้ประกอบการแสดงละครชาตรี โนราและหนังตะลุงช่วย ย้ำจังหวะให้หนักแน่นเร้าใจ เสริมลีลาท่าทางการแสดงตำนานโนราเรียกกลองชนิดนี้ว่า “ กลองสุวรรณเภรีโลก ”
โพน มีลักษณะเหมือนกลองทัดในภาคกลาง เป็นกลอง ๒ หน้าขนาดใหญ่ หน้ากลองทั้งสองเท่ากัน หุ้มหนังด้วยหนังวัวหรือหนังควาย ด้านข้างกลองมีห่วงยึดสำหรับแขวนตี โพนพบได้ทั่วไปตามวัด ผูกห้อยไว้ตามศาลา ใช้ตีบอกเวลา ส่งสัญญาณ เช่นทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น และใช้ประโคมในพิธีลากพระ นอกจากนี้ยังใช้ตีประชันเรียกว่าแข่งโพ
ฆ้องคู่ เป็นเครื่องตีที่ทำด้วยโลหะเป็นแผ่นวงกลมโค้งงองุ้มลงมารอบตัวมีปุ้มนูนอยู่ตรงกลางสำหรับตี เป็นฆ้อง ๒ ใบอีกใบหนึ่งเสียงต่ำ แขวนขึงอยู่กับรางไม้รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ฆ้องคู่ใช้ตีประกอบการเล่นละครชาตรี โนรา และหนังตะลุง ตีคู่กับ ฉิ่ง


แตระ (แกระ) เป็นเครื่องดนตรีเคาะให้จังหวะ แตระเป็นดนตรีหลักในการกำกับจังหวะในการขับร้องบทกลอนที่เรียกว่าร่ายแตระ และโนรายังถือเป็นครูของดนตรีโนรา


ประเภทเครื่องเป่า
ปี่กาหลอ(ปี่ฮ้อ) เป็นเครื่องเป่าชนิดหนึ่ง เลาปีทำด้วยไม้ยาวประมาณ ๑๓ นิ้ว มีรูบังคับเสียง ๗ รู ด้านล่างมีรูนิ้วหัวแม่มือ ๑ รู ลิ้นปี่ทำด้วยใบตาลมีบังลมทำด้วยไม้หรือ เปลือกหอยมุข ด้านล่างเป็นลำโพงปี่ ทำด้วยไม้ปากบานเพื่อขยายเสียงใช้เป่าบรรเลงในงานศพ งานบวชที่ผู้บวชจะไม่สึก และการแสดงลิเกป่า


ปี่ไหน เป็นเครื่องเป่าประเภทดำเนินทำนอง มีลักษะเช่นเดียวกับ ปี่นอก ปี่กลาง และปีในของภาคกลาง แต่มีขนาดเล็กกว่า มีระดับเสียงสูงกว่า มีรูบังคับเสียง ๖ รู ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่นไม้ประดู่ ลิ้นปี่ทำด้วยใบตาลผูกติดกับกำพวด(ท่อกลม เล็ก) ใช้การประกอบการแสดงโนราและหนังตะลุง