๓ วงมโหรี
วงมโหรี เป็น วงดนตรีไทยประเภทหนึ่งซึ่งประกอบด้วยเครื่องดนตรีผสมทั้งดีด สี ตี เป่า เป็นวงดนตรีที่ใช้บรรเลงเพื่อขับกล่อม ไม่นิยมบรรเลงในการแสดงใด ๆ วงมโหรีแบ่งเป็น ๕ ประเภท คือ
๑.วงมโหรีเครื่องสี่ เป็นวงมโหรีที่รวมเอาการบรรเลงพิณและการขับไม้ ซึ่งมีมาแต่โบราณเข้าด้วยกัน เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยอยุธยา มีเครื่องดนตรี ๔ ชิ้น คือ
๑.๑ ทับ (ปัจจุบันเรียกว่า โทน) เป็นเครื่องควบคุมจังหวะ
๑.๒ ซอสามสาย
๑.๓ กระจับปี่
๑.๔ กรับพวง (ผู้ขับร้องเป็นผู้ตีกรับพวง)
วงมโหรีเครื่องสี่นี้เดิมผู้ชายเป็นผู้บรรเลง
ต่อมาเมื่อนิยมฟังมโหรีกันแพร่หลาย ผู้มีบรรดาศักดิ์จึงนิยมให้ผู้หญิงฝึกหัดบรรเลงบ้างและได้รับความนิยมสืบต่อมา
วงมโหรีเครื่อง ๔




๒.วงมโหรีเครื่องหก คือ วงมโหรีเครื่องสี่ซึ่งเพิ่มเครื่องดนตรีอีก ๒อย่าง คือ รำมะนา สำหรับตีกำกับจังหวะคู่กับทับ และขลุ่ย (ปัจจุบันเรียกว่า ขลุ่ยเพียงออ) สำหรับเป่าดำเนินทำนอง และเปลี่ยนใช้ฉิ่งแทนกรับพวง นับเป็นการบรรเลงที่มีเครื่องดนตรีครบทั้งดีด สี ตี และเป่า เกิดขึ้นในตอนปลายสมัยอยุธยา
วงมโหรีเครื่อง ๖


       ในสมัยต่อมา วงมโหรีที่ได้เพิ่มเครื่องดนตรีและเปลี่ยนแปลงมาโดยลำดับตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ครั้งแรกเพิ่มระนาดเอกและฆ้องวง (ภายหลังเรียกว่า ฆ้องกลางหรือฆ้องมโหรี) ต่อมาจึงได้เพิ่มซอด้วงและซออู้ ส่วนกระจับปี่นั้นเปลี่ยนเป็นใช้จะเข้แทน เนื่องจากเวลาบรรเลงจะเข้วางราบไปกับพื้น ซึ่งต่างกับกระจับปี่ที่ต้องตั้งดีด ทั้งนมที่ใช้รองรับสายและบังคับเสียงของจะเข้ ก็เรียงลำดับมีระยะเหมาะสมกว่ากระจับปี่ เวลาบรรเลงจึงทำให้ใช้นิ้วดีดได้สะดวกและแคล่วคล่องกว่า นอกจากนี้จะเข้ยังสามารถทำเสียงได้ดังและทำเสียงได้มากกว่ากระจับปี่
๓. วงมโหรีเครื่องเดี่ยว หรือ มโหรีเครื่องเล็ก

วงมโหรีเครื่องเดี่ยว

* กำหนดให้ซอด้วงอยู่ขวามือด้านหน้าสุด(กรณีตั้งวงจริง)
เครื่องดนตรีชิ้นอื่นจัดตามตำแหน่งในรูป ให้ ซอด้วงเป็นต่ำแหน่งหลัก*


 
วงมโหรีเครื่องคู่
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ วงปี่พาทย์ได้เพิ่มระนาดทุ้มกับฆ้องวงเล็กกลายเป็นวงปี่พาทย์เครื่องคู่ วงมโหรีก็เพิ่มระนาดทุ้มกับฆ้องวงเล็กบ้าง ทั้งเพิ่มซอด้วง ซออู้ ขึ้นเป็นอย่างละ๒ คัน จะเข้เพิ่มเป็น ๒ ตัว ขลุ่ยนั้นเดิมมีแต่ขลุ่ยเพียงออก็เพิ่ม ขลุ่ยหลิบ (เลาเล็ก) ขึ้นอีก ๑ เลา เหมือนในวงเครื่องสาย ส่วนซอสามสายก็เพิ่มซอสามสายหลิบ (คันเล็กและเสียงสูงกว่า) อีก ๑ คัน เครื่องประกอบจังหวะคงเดิม เรียกว่า วงมโหรีเครื่องคู่




วงมโหรีเครื่องคู่
*ข้อสังเกต* จำนวนเครื่องดนตรีชนิดเดียวกันจะมีเป็นคู่ ซอสามสายกับขลุ่ย จะมีคู่ที่มีขนาดเล็กและเสียงจะแหลมกว่า เรียกว่า “หลิบ” เช่นขลุ่ยหลิบ ซอสามสายหลิบ (ปัจจุบัน หาซอชนิดนี้ได้น้อย)


. วงมโหรีเครื่องใหญ่
ถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ วงปี่พาทย์ได้เพิ่มระนาดทุ้มกับระนาดเอกเหล็กขึ้นอีก ๒ ราง กลายเป็นวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ มโหรีจึงเลียนแบบ โดยเพิ่มระนาดทุ้มเหล็กขึ้นบ้าง ส่วนระนาดเอกเหล็กนั้นเปลี่ยนเป็นสร้างลูกระนาดด้วยทองเหลียง เพราะเทียบให้เสียงสูงไพเราะกว่าเหล็ก เรียกว่าระนาดทอง รวมทั้งวงเรียกว่าวงมโหรีเครื่องใหญ่ ซึ่งได้ถือเป็นแบบปฏิบัติใช้บรรเลงมาจนปัจจุบันนี้ บรรดาเครื่องดนตรีต่าง ที่วงมโหรีได้เลียนแบบมาจากวงปี่พาทย์ คือ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก (เป็นระนาดทอง) ระนาดทุ้มเหล็ก (บางวงทำด้วยทองเหลือง เรียกว่า ระนาดทุ้มทองก็มี) ฆ้องวงใหญ่ และฆ้องวงเล็กนั้น ทุกสิ่งจะต้องย่อขนาดลดลงให้เล็กเพราะสมัยโบราณผู้บรรเลงมโหรีมีแต่สตรีทั้งนั้น จึงต้องลดขนาดลงให้พอเหมาะแก่กำลัง อีกประการหนึ่งการลดขนาดเครื่องตีเหล่านี้ลงก็เพื่อให้เสียงดังสมดุลย์กับเครื่องดนตรีประเภทดีดสี มิฉะนั้นเสียงจะดังมากกว่าพวกเครื่องดีดและเครื่องสี



วงมโหรี ใช้ในงานมงคลงานทำบุญบ้าน งานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ งานเลี้ยงรับรอง หรืองานมงคลต่างๆที่เน้นฟังไพเราะนุ่มหู ระดับเสียงอยู่กลางๆ ไม่เสียงดังเกินไป(ได้ทั้งภายในบ้านและนอกบ้าน)เหมาะกับงานที่มีพื้นที่จัดงานกว้างเพราะเครื่องดนตรีมีจำนวนมาก ต้องเลือกชนิดวงมโหรีให้เหมาะสมกับพื้นที่จัดงาน