กระจับปี่เป็น เครื่องดนตรี ประเภทดีด ๔ สาย ตัวกะโหลกเป็นรูปกลมรีแบนทั้งหน้าหลัง มีความหนาประมาณ ๗ ซม. ด้านหน้ายาวประมาณ ๔๔ ซม. กว้างประมาณ ๔๐ ซม. ทำคันทวนเรียวยาวประมาณ ๑๓๘ ซม.ปลาย คันทวนมีลักษณะ แบน และบานปลายผายโค้งออกไป ถ้าวัดรวมทั้งคันทวนและตัว กะโหลก จะมีความยาว ประมาณ ๑๘๐ ซม มีลูกบิดสำหรับขึ้นสาย ๔ อัน มีนมรับนิ้ว ๑๑ นมเท่ากับ จะเข้ ตรงด้านหน้ากะโหลกมีแผ่น ไม้บางๆ ทำเป็นหย่องค้ำสาย ให้นูนขึ้น เวลาบรรเลงใช้นิ้วหัวแม่มือ กับนิ้วชี้ จับไม้ ดีดสายให้เกิดเสียง ต่อมาก็นำมาใช้เป็นเครื่องดีดประกอบการขับไม้ สำหรับบรรเลงใน พระราชพิธี แต่เนื่องจาก กระจับปี่มีเสียงเบา และมีน้ำหนักมาก ผู้ดีดกระจับปี่จะต้องนั่งถือเวลาดีด เป็นที่ลำบากมาก อาจเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้ไม่ค่อยมีผู้นิยมเล่นกระจับปี่ ในปัจจุบันจึงหาผู้เล่นได้ยาก (ย้อนกลับ) |
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสี พื้นเมืองภาคกลาง
ลักษณะโดยทั่วไปของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสีจะเป็นเครื่องดนตรีที่ขึงด้วยสาย เกิดเสียงโดยการใช้คันชักที่ใช้เส้นหางม้ารวมกันหลายเส้นสีที่สายซอ แต่เดิมสายซอทำด้วยเส้นไหม ปัจจุบันใช้เส้นเอ็น |
ซอด้วง มีลักษณะคล้ายซอจีน กะโหลกทำด้วยไม้เนื้อแข็ง หรือ งาช้าง ขึงหน้าซอด้วยหนังงูเหลือม คันซอ ประกอบด้วย ๒ ส่วน ส่วนที่๑ อยู่ด้านบนเรียกว่า โขนซอ รองลงมา มีลูกบิด ๒ อัน ส่วนที่ ๒ มีรัดอก ใช้รั้งสายทั้ง ๒ เส้นให้ชิดกัน หน้ากะโหลกซอมีหย่องทำจากไม้ไผ่ ทรงสามเหลี่ยมเล็กๆ คันชัก ใช้หางม้าขึง อยู่ระหว่างสายซอทั้ง ๒ เส้น สายนอกเสียง เร สายในเสียง ซอล มีหน้าที่เป็นผู้นำวงในวงเครื่องสาย (ย้อนกลับ) |
ซออู้ เป็นซอที่มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับซอด้วงต่างกันที่กะโหลกซอ ซึ่งทำมาจากกะลามะพร้าว โดยปาดกะลาด้านหนึ่งออกแล้วขึงด้วยหนังลูกวัวหรือลูกแพะ หน้าซอมีหมอนทำหน้าที่หนุนสายซอ ทั้ง ๒ เส้นให้สูงขึ้น ทำหน้าที่เหมือนกับหย่องของซอด้วง สายซอมี ๒ เส้น เส้นใหญ่กว่าซอด้วง สายในเสียง โด สายนอกเสียง ซอล คันทวนบน เป็นทรงกลม คันชักซอมีลักษณะคล้ายกับ ซอด้วง มีหน้าที่สีหยอกล้อ และเป็นผู้ตามของซอด้วง (ย้อนกลับ) |
|
ซอสามสาย เป็นซอที่เกิดขึ้นในสมัยสุโขทัย ชื่อเก่า เรียกว่า “ ซอพุงตอ ” ซอสามสายนี้เป็นที่โปรดปราน ของพระบาทสมเด็จพระ พุทธเลิศหล้านภาลัย พระองศ์ทรงมีซอคู้พระหัตถ์ ที่พระราชทาน นามว่า “ สายฟ้าฟาด ” ลักษณะของซอสามสาย กะลามะพร้าวด้านหลังจะนูนเป็นกระพุ้ง ออกมา ๓ ปุ่ม คล้ายวงแหวน ๓ อัน วางอยู่ในรูปสามเหลี่ยม ขึงหน้าด้วย หนังแพะ หรือหนังลูกวัว บนหน้าซอมีหย่อง ทำด้วยไม้ลักษณะโค้ง มีไว้สำหรับหนุนสายทั้ง ๓ ให้ลอยขึ้น มีถ่วงหน้าลักษณะเป็นพลอยหรือเพชร สีต่างๆจะเป็นวงกลมหรือวงรีก็ได้ ถ่วงหน้าใช้สำหรับให้หน้าซอกระพือให้ได้เสียงที่ไพเราะ ส่วนล่างของกะโหลกซอ เรียกว่า เท้า คันทวนตอนบน มีลูกบิด ๓อัน คันชักลักษณะโค้ง ขึงด้วยหางม้า ๒๕๐- ๓๐๐ เส้น คันชักแยกออกจากตัวซอ ซอสามสายใช้บรรเลงอยู่ในวงขับไม้ และวงมโหรี นิยมบรรเลงคลอกับเสียงคนร้อง (ย้อนกลับ)
|
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี พื้นเมืองภาคกลาง
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีได้ถือกำเนิดขึ้นมาก่อนเครื่องดนตรีประเภทใดๆ ได้มีการแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้นทั้งทางด้านรูปร่างและวิธีการบรรเลง มาโดยลำดับ ลักษณะทั่วไปของเครื่องดนตรี ประเภทเครื่องตีนี้ เกิดเสียงจากการกระทบกันของวัตถุ วัสดุที่ใช้ทำเครื่องดนตรีประเภทตี ให้เกิดเสียงมี ๓ ชนิด ได้แก่ ไม้ โลหะ หนังสัตว์
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีที่เกิดเสียงจากไม้ สามารถดำเนินทำนองได้ |
ระนาดเอกเป็นเครื่องดนตรีที่ทำด้วยไม้ประเภทดำเนินทำนองมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์บ่งบอกว่าเกิดขึ้นเมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย บรรเลงผสมในวงปี่พาทย์
เครื่องห้าเครื่องคู่และเครื่องใหญ่ตามลำดับมีหน้าที่เป็นผู้นำวงตีเก็บตีกรอและตีรัวในแบบต่างๆเดิมเรียกว่า"ระนาด" ต่อเมื่อภายหลังมีระนาดทุ้มเกิดขึ้นจึงเรียกระนาดชนิดนี้ว่า"ระนาดเอก" (ย้อนกลับ) |
ระนาดทุ้ม เป็นเครื่องดนตรีประเภททำทำนองที่ทำด้วยไม้ ซึ่งเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ โดยเพิ่มมาให้เป็นคู่กับระนาดเอก ในวงปี่พาทย์เครื่องคู่ เวลาตีมีเสียงทุ้ม กว่าระนาดเอก จึงเรียกว่า " ระนาดทุ้ม " มีหน้าที่ตีหยอกยั่วเย้าไปกับทำนองเพลง (ย้อนกลับ)
อังกะลุง เป็นเครื่องดนตรีไทย ชนิดหนึ่ง ทำจากไม้ไผ่ เล่นด้วยการเขย่าให้เกิดเสียง นับเป็นเครื่องดนตรีประเภทตีมีที่มาจาประเทศอินโดนีเซียในภาษาอินโดนีเซีย เรียกว่า อุงคะลุง (ย้อนกลับ)
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีที่เกิดเสียงจากไม้ ไม่สามารถดำเนินทำนองได้
กรับเสภา เป็นเครื่องตีประกอบจังหวะ ทำด้วยไม้เนื้อแข็งเช่นไม้ชิงชันเหลาให้เป็นสี่เหลี่ยม ด้านบนลบเหลี่ยม เล็กน้อย เพื่อไม่ให้บาดมือและสามารถกลิ้งในมือได้ กลอกกระทบกันได้สะดวก ด้านล่างนูนโค้งเล็กน้อย เดิมใช้ขยับตีในการขับเสภา ดังที่เรียกว่า " ขยับกรับขับเสภา" ซึ่งผู้ขับ เสภาจะ เป็นผู้ขยับเองโดยใช้กรับ ๒คู่ ขยับคู่ละมือ ขับเสภาไปพลาง ขยับกรับสอดแทรกไปกับทำนองขับ ซึ่งมีวิธีการขยับกรับได้หลายวิธี อันถือเป็นศิลปะชั้นสูงอย่างหนึ่งในการขยับกรับขับเสภา ซึ่งนิยมเล่นกันมากในสมัยโบราณ ในปัจจุบันคนขยับกรับขับเสภาลดน้อยลง การเล่นปี่พาทย์เสภาก็เลือนหายไป คงเหลือกรับไว้สำหรับตีประกอบจังหวะหนักในวงปี่พาทย์ (ย้อนกลับ)
|
กรับพวง เป็นเครื่องตีประกอบจังหวะที่ทำด้วยแผ่นไม้บาง ร้อยเชือกสลับกับแผ่นโลหะบาง ติดกันเป็นพวง โดยชิ้นนอกสุด ๒ ชิ้น จะกลึงหนา ส่วนหัว และส่วนท้ายงอนโค้งงอน ร้อยเชือกทางด้านปลาย เวลาตี มือหนึ่งจะจับช่วงปลาย ให้ส่วนหัวตีลงบนมืออีกข้างหนึ่ง ซึ่งจะเกิดเสียงไม้กับโลหะกระทบกัน เดิมใช้ตีเป็นอาณัติสัญญาณเช่น ในการเสด็จออกท้องพระโรงของพระเจ้าแผ่นดินที่เรียกว่า " รัวกรับ " และพระราชพิธีทอดผ้าพระกฐินทางชลมารค ในเรือสุพรรณหงส์ เจ้าพนักงานจะรัวกรับ เพื่อบอก ฝีผายทำความเคารพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และออกเรือ ในการบรรเลงดนตรี จะใช้กรับพวงตีร่วมในวงปี่พาทย์ ประกอบการแสดงละครนอก ละครใน โขน ใช้ตอนเพลงร่าย (ย้อนกลับ)
กรับคู่ เป็นเครื่องตีประกอบจังหวะ ทำด้วยไม้ไผ่ซีก ๒ อันเหลาให้เรียบ ตีบริเวณส่วนบนมีเสียงดัง กรับ กรับ โดยมากจะใช้ตีกำกับจังหวะในวง ปี่พาทย์ชาตรี ประกอบการแสดงละครชาตรี โดยเฉพาะ ในเพลงร่ายต่างๆ ในวงกลองยาวก็นิยมใช้กรับคู่ไปตีจังหวะหนัก บางครั้ง ก็เรียกว่า กรับไม้
โกร่ง เป็นเครื่องตีประกอบจังหวะที่ทำด้วยไม้ไผ่ เช่นเดียวกับเกราะ แต่ยาวกว่า ตั้งอยู่บนขาตั้ง ๒ ฝั่ง ใช้ในการบรรเลงดนตรีประกอบการแสดงหนังใหญ่ โขน โดยเฉพาะในการบรรเลงเพลงกราวตรวจพล แต่ในการแสดงโขน ของกรมศิลปากร จะใช้โกร่งร่วมตีในวงปี่พาทย์ในการแสดงโขนกลางแจ้ง ถ้าเป็นการแสดงภายในโรงละคร จะไม่ใช้เพราะ เสียงดังเกินไป (ย้อนกลับ)
เกราะ เป็นเครื่องตีที่ทำด้วยไม้ไผ่ เดิมเป็นเครื่องตีสำหรับขานยามไม่ปรากฏว่านำมาใช้ร่วมในวงการดนตรี แต่ใช้ในการเล่นโขนละครตอนพักทัพที่อยู่เวรยาม และตอนที่หัวหน้า
หมู่บ้านใช้ตีเป็นอาณัติสัญญาบอก
เหตุ
ุอันตราย หรือตีเพื่อนัดหมายชุมนุมลูกบ้าน
|