ปี่พาทย์ที่ใช้ในงานมงคล หน้าที่ ๑



๒ วงปี่พาทย์

หมายถึงวงดนตรีประเภทหนึ่งที่ประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีที่ทำหน้าที่หลักในการบรรเลงบทเพลง เครื่องดนตรีเหล่านี้ได้แก่ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวง มีเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า ได้แก่ ปี่มีหน้าที่เป่าประสานบทเพลง มี่เครื่องดนตรีประเภท เครื่องหนัง ได้แก่ ตะโพน กลองทัด มีหน้าที่กำกับจังหวะหน้าทับ มีฉิ่งเป็นเครื่องกำกับ จังหวะย่อย(หนัก-เบา) มีฉาบ กรับ โหม่ง เป็นเครื่องประกอบจังหวะ ประสมเป็นวงลักษณะต่างๆ ใช้บรรเลงประกอบพิธีกรรมและมหรสพมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน

ประเภทของวงปี่พาทย์

๑ วงปี่พาทย์ชาตรี (งานมงคล)
๒ วงปี่พาทย์เครื่องห้า (งานมงคล)
๓ วงปี่พาทย์เครื่องคู่
(งานมงคล)
๔ วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่
(งานมงคล)
๕ วงปี่พาทย์เสภา
(งานมงคล)
๖ วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์
(งานมงคล)
๗ วงปี่พาทย์นางหงส์ (งานอวมงคล)
๘ วงปี่พาทย์มอญ
(งานอวมงคล)

วงปี่พาทย์ที่ใช้ในงานมงคล

๑. วงปี่พาทย์เครื่องเบา(วงปี่พาทย์ชาตรี)

สมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงอธิบายเรื่องวงปี่พาทย์ไว้ในหนังสือตำนานมโหรี ปี่พาทย์ ว่า "เดิมปี่พาทย์มี ๒ ชนิด คือวงปี่พาทย์เครื่องเบา กับวงปี่พาทย์เครื่องหนัก" ปี่พาทย์เครื่องเบา ก็คือปี่พาทย์ที่ใช้บรรเลงประกอบละครชาตรีของภาคใต้ เรียกอีกอย่างว่า "ปี่พาทย์ชาตรี" ลักษณะของวงปี่พาทย์ชาตรีเหมือนกับวงดนตรีประกอบการแสดง มโนราห์ของภาคใต้
ประกอบด้วย ๑ ปี่ ๒ กลองชาตรี ๓โทนชาตรี ๔ฆ้องคู่ ๕ ฉิ่ง
*ลักษณะเครื่องดนตรีปี่พาทย์เครื่องเบา มักมีขนาดเล็กเคลื่อนย้ายง่าย*



๒. วงปี่พาทย์เครื่องหนัก ( วงปี่พาทย์ไม้แข็ง)


มายถึง เครื่องดนตรี ที่มีน้ำหนักของเครื่องดนตรีหนักกว่าวงปี่พาทย์เครื่องเบา ปี่พาทย์เครื่องหนัก เริ่มสืบค้นประวัติได้ในสมัยสุโขทัย ตามหลักฐานจดหมายเหตุของ นาย ลาลูแบ ราชทูตของชาวฝรั่งเศษสมัยแผ่นดิน พระนารายน์มหาราช
วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องห้า อาจารย์มนตรี ตราโมท(ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีไทยของกรมศิลปากร) ได้อธิบายปี่พาทย์ที่เกิด ขึ้น ในสมัยสุโขทัยไว้ว่า เป็นวงปี่พาทย์ไม้แข็งที่มีลักษณะวงเป็นเครื่องห้า มีเครื่องดนตรีประกอบไปด้วย
๑ ปี่ มีหน้าที่เป่าบรรเลงทำนอง
๒ ฆ้องวงมีหน้าที่ ดำเนินทำนองหลัก
๓ ตะโพนมีหน้าที่กำกับจังหวะหน้าทับ
๔ กลองทัด (ใบเดียว) มีหน้าที่กำกับจังหวะหน้าทับ
๕ ฉิ่ง มีหน้าที่กำกับจังหวะย่อย (จังหวะหนักเบา)

 

ตัวอย่างเพลงที่บรรเลงด้วยปี่พาทย์เครื่องห้าสมัยสุโขทัย
สรุปวงปี่พาทย์เครื่องห้าเป็นวงปี่พาทย์มีวิวัฒนาการ ๓ สมัยด้วยกันคือ
สมัยที่หนึ่ง   สมัยสุโขทัย  พบว่ามีเครื่องดนตรีดังนี้
๑ ปี่ใน ๒ ฆ้องวงใหญ่ ๓ ตะโพน ๔ กลองทัด (ลูกเดียว) ๕.ฉิ่ง
สมัยที่สอง   สมัยอยุธยาตอนปลาย  พบว่ามี “ ระนาดเอก “ เข้าร่วมด้วย” ดังนี้
๑.ปี่ใน ๒.ระนาดเอก ๓.ฆ้องวงใหญ่๔. ตะโพน ๕. กลองทัด(ลูกเดียว) ๖ฉิ่ง
สมัยที่สาม   สมัยรัตนโกสินทร์  รัชกาลที่ ๑ เพิ่มกลองทัดเป็น ๒ ลูก เป็นคู่กัน  ลูกหนึ่งมีเสียงต่ำ เรียกว่า “ตัวเมีย” อีกลูกหนึ่งมีเสียงสูง เรียกว่า “ ตัวผู้” ประกอบด้วยเครื่องดนตรีดังนี้
  ๑ ปี่ใน ๒ ระนาดเอก ๓ ฆ้องวงใหญ่ ๔.ตะโพน ๕.กลองทัด (๒ลูก) ๖ฉิ่ง

ปี่พาทย์เครื่องห้าสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
กำหนดให้ตะโพนไทยอยู่ฝั่งขวามือหน้าสุด (กรณีตั้งวงจริง)
เครื่องดนตรีชิ้นอื่นจัดตามตำแหน่งในรูปให้ตะโพนเป็นต่ำแหน่งหลัก


วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องคู่
เป็นวงปี่พาทย์ที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเพิ่มเครื่องดนตรีบางชิ้นให้มาเป็นคู่กับ เครื่องดนตรีที่มีอยู่เดิมในวงเครื่องห้า เพิ่มปี่นอกมาเป็นคู่กับปี่ใน เพิ่มระนาดทุ้มมาเป็นคู่กับระนาดเอก เพิ่มฆ้องวงเล็กมาเป็นคู่กับฆ้องวงใหญ่ เพิ่มฉาบ(เล็ก)มาเป็นคู่กับฉิ่ง
                   
กำหนดให้ระนาดเอกอยู่ขวามือด้านหน้าสุด(กรณีตั้งวงจริง)
เครื่องดนตรีชิ้นอื่นจัดตามตำแหน่งในรูป ให้ระนาดเอกเป็นต่ำแหน่งหลัก



วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องใหญ่
เป็นวงปี่พาทย์ที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔  แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เครื่องดนตรีทุกชนิดเหมือนวง ปี่พาทย์เครื่องคู่ แต่เพิ่มระนาดเอกเหล็ก  ระนาดทุ้มเหล็ก  และฉาบใหญ่  กรับ  โหม่ง 


วงปี่พาทย์ไม้แข็ง ใช้ในงานมงคล เช่น งานบวช งานโกนจุก งานทำบุญบ้าน งานเทศน์มหาชาติ ใช้ประกอบการแสดงโขน ละคร ลิเก โขนสด หรืองานมงคลต่างๆที่เน้น ความสนุก คึกโครม เสียงดัง กระจายไปไกล ๆ (งานภายนอกตัวบ้าน)ใช้พื้นที่ตั้งวงกว้าง ต้องเลือกชนิดวงปี่พาทย์ไม้แข็งให้เหมาะสมกับพื้นที่จัดงาน



ปี่พาทย์ที่ใช้ในงานมงคล หน้าที่ ๑