ปี่พาทย์ที่ใช้ในงานมงคล หน้าที่ ๒



๔ วงปี่พาทย์เสภา

เป็นวงปี่พาทย์ชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์สำหรับการเล่นเสภาในอดีต  มีวิวัฒนาการมาโดยลำดับ ดังนี้ 
เริ่มแรกผู้ขับจะขับเสภาเป็นเรื่องราว  พร้อมกับขยับกรับในไม้ต่างๆให้สอดประสานไปกับบทจนจบเรื่อง

ตัวอย่างการขับเสภา

ต่อมาให้มีดนตรีเข้ามาบรรเลงประกอบในการขับเสภา  แต่บรรเลงเฉพาะกิริยาอารมณ์ต่าง ของตัวละครในบท  เช่น ไป มา โกรธ ดีใจ หรือเสียใจ เป็นต้น
๓ ต่อมานำบทเสภาบางตอนที่ไพเราะมาร้องส่งให้ปี่พาทย์รับ  ซึ่งในชั้นแรกจะเป็นเพลงในอัตราสองชั้น  โดยสร้างรูปแบบและวิธีการเล่นปี่พาทย์เสภาที่มีปี่พาทย์ประกอบคือ  เริ่มด้วยวงปี่พาทย์บรรเลงเพลง รัวประลองเสภา   ผู้ขับ ขับเสภาในบทไหว้ครู  แล้วขับเข้าเรื่อง  บทเสภาบทใดไพเราะ ผู้ขับก็จะร้องส่งให้ปี่พาทย์รับ  แล้วขับเสภาเดินเรื่องต่อ  กระทำสลับกันจนจบเรื่อง  ในระหว่างบทร้องส่งเพลงสุดท้าย  เมื่อปี่พาทย์รับแล้ว  จะลงจบด้วยทำนองเพลงที่เป็น ลูกหมด”

การขยับกรับขับเสภาเป็นเรื่องราวจึงลดน้อยค่อยๆหายไป  คงเหลือแต่การนำบทเสภาในเรื่องต่างๆมาขับร้องส่งให้ปี่พาทย์รับ  พร้อมทั้งสร้างรูปแบบ  ลำดับวิธีการบรรเลงปี่พาทย์เสภา  ยึดถือเป็นระเบียบดังนี้  ๑ รัวประลองเสภา    ๒โหมโรงเสภา   ๓ เพลงพม่า ท่อน  ๔.เพลงจะเข้หางยาว    ๕.เพลงสี่บท    ๖.เพลงบุหลัน จากนั้นจะร้องและบรรเลงเพลงประเภททยอย  เช่น ทยอยเขมร  ทยอยนอกทยอยใน  โอ้ลาว  แขกลพบุรี  แขกโอด เป็นต้น  หรืออาจต่อด้วยเพลงตับเรื่องต่างๆ เมื่อจะจบการ บรรเลง  จะบรรเลงและขับร้อง “ เพลงลา" เป็นอันดับสุดท้าย  สำหรับเพลงลาเป็นเพลงลักษณะหนึ่งที่ท่วงทำนองตอนหนึ่งให้ปี่ว่า “ ดอก “ ตามบทร้อง เช่น เพลงเต่ากินผักบุ้ง  เพลงพระอาทิตย์ชิงดวง
วงปี่พาทย์เสภามีรูปแบบจัดวง ๓ รูปแบบ
๑ วงปี่พาทย์เสภาเครื่องห้า
๒ วงปี่พาทย์เสภาเครื่องคู่
๓ วงปี่พาทย์เสภาเครื่องใหญ่
ลักษณะการจัดวงใช้วิธีการจัดวงเหมือนวงปี่พาทย์ไม้แข็ง เปลี่ยนเอากลองทัดและตะโพนออก ใช้กลองสองหน้าควบคุมจังหวะหน้าทับแทน

วงปี่พาทย์เสภาเครื่องคู่
ตัวอย่างเพลงเสภา ( โหมโรงพม่าวัด)

๕.วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์
เป็นวงดนตรีที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ จากความคิดริเริ่มของเจ้าพระยาเทเวศร์วงวิวัฒน์เมื่อ ครั้งไปยุโรป    ทรงเห็นการแสดง “ โอเปร่า” ที่ฝรั่งเล่นเกิดชอบใจ   กลับมาทูลชวน ให้สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์     ให้ทรงช่วยร่วมมือกันคิดขยายการ เล่นละครโอเปร่าอย่างไทย จึงทรงสร้างโรงละครขึ้นใหม่ชื่อว่าโรงละครดึกดำบรรพ์ จึงเรียกการแสดงนี้เลียนแบบโรงละครว่า ละครดึกดำบรรพ์ วงดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงนี้ตั้งชื่อวงตามการแสดง ชื่อว่า วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์


๖.วงปี่พาทย์ไม้นวม
เป็นวงปี่พาทย์ที่มีลักษณะและรูปวงคล้ายคลึงกับวงปี่พาทย์ไม้แข็ง มีการปรับเปลี่ยนไม้ที่ใช้ตีเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีแต่ละชนิด ให้มีความนุ่มของเสียงมากขึ้น เพราะความต้องการวงดนตรีที่มีเสียงไม่ดังเกินไป เพื่อสำหรับ บรรเลงประกอบการแสดงละครที่พัฒนาขึ้นในสมัยหลัง จึงปรับเปลี่ยน รูปแบบของเครื่องดนตรี และการประสมวงของวง ปี่พาทย์ไม้แข็งเสีย ใหม่ คือ ไม้ที่ใช้สำหรับรรเลงระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ และฆ้องวงเล็ก เปลี่ยนมาใช้ไม้นวมแทน เครื่องเป่าก็เปลี่ยนจากปี่มาเป็นขลุ่ยเพียงออไม่แข็งกร้าวเหมือนเดิม
จากคำอธิบายที่มาของวงปี่พาทย์ไม้นวมของอาจารย์ มนตรี ตราโมท (ศิลปินแห่งชาติ) อธิบายไว้ว่า น่าจะเกิดตามหลังวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ ซึ่ง ใช้ไม้นวมตีระนาดเอก    และนำเอาซออู้ , กลองแขก ที่ใช้บรรเลงในวงปี่ พาทย์ดึกดำบรรพ์เข้ามาบรรเลงในวงปี่พาทย์ไม้นวมด้วย สำหรับวงปี่พาทย์ไม้นวมในปัจจุบัน นิยมใช้บรรเลงและขับร้องในรูปแบบในการขับกล่อม และประกอบการแสดง โดยเฉพาะการแสดงที่มีลักษณะเป็นโรงละคร หรือแสดงภายในอาคาร

วงปี่พาทย์ไม้นวมเครื่องห้า
วงปี่พาทย์ไม้นวมเครื่องคู่

ตัวอย่างเพลงที่บรรเลงด้วยปี่พาทย์ไม้นวม (เพลงเชิดแขก)